ราชอาณาจักรฮัซไมต์จอร์แดน
ธงประจำประจำชาติ |
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง
ทิศเหนือติดกับซีเรีย ทิศตะวันออกติดซาอุดีอาระเบีย ทิศตะวันตกติดกับอิสราเอล
ทิศใต้ติดกับทะเลแดง
พื้นที่ 89,206 ตารางกิโลเมตร
(ไทยมีขนาดใหญ่กว่า 5.7 เท่า)
เมืองหลวง กรุงอัมมาน (Amman)
ประชากร 6.6 ล้านคน
(สถานะ เมษายน 2555) เป็นชาวอาหรับ ร้อยละ 98% เซอร์คัสเซียน ร้อยละ 1%และอาร์มาเนียน 1% (ทั้งนี้กว่าร้อยละ 50 เป็นชาวปาเลสไตน์)
ภูมิอากาศ อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างแห้งแล้ง มีปริมาณฝนตกน้อย
กลางวันมีแดดจัดและอากาศเย็นในเวลากลางคืน อุณหภูมิฤดูร้อนเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส และอุณภูมิฤดูหนาวเฉลี่ย 8 องศาเซลเซียส
ภาษา ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ มีการใช้ภาษาอังกฤษอย่างแพร่หลาย
ศาสนา อิสลามนิกายสุหนี่ร้อยละ
92% คริสต์ 6% และอิสลามนิกายชีอะต์และอื่นๆ
2%
หน่วยเงินตรา จอร์แดนดีนาร์ (Jordanian Dinar: JOD) 1 จอร์แดนดินาร์
เท่ากับประมาณ 43บาท (เมษายน 2554)
จอร์แดนอยู่ในดินแดนที่เรียกว่า Holy Land ได้รับการกล่าวถึงเป็นอย่างมากในฐานะที่เป็นประเทศศูนย์กลางประวัติศาสตร์และศาสนา และมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ศาสนาที่ปรากฏอยู่เป็นจำนวนมากจอร์แดนตั้งอยู่ระหว่างนครเมกกะ (Mecca) เป็นสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของชาวมุสลิม และ กรุงเยรูซาเล็ม (Jerusalem) เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญมากอีกแห่งหนึ่งในภูมิภาค จอร์แดนจึงเป็นประเทศที่มีบทบาทในฐานะที่เป็นศูนย์กลางสำคัญทางประวัติศาสตร์และศาสนา โดยได้มีการพูดถึงดินแดนของจอร์แดนหลายส่วนในทั้งคัมภีร์ กุรอาน และในคัมภีร์ไบเบิล โดยเฉพาะความเกี่ยวข้องกับพระศาสดาต่าง ๆ ที่ได้อยู่หรือได้เดินทางผ่านดินแดนแห่งนี้ในอดีตคนส่วนใหญ่ในประเทศจอร์ดแดน นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ ยังมีประชาชนบางส่วน (ประมาณ ร้อยละ 6) ที่นับถือคริสตศาสนาและศาสนายิว มีสถานที่สำคัญทางศาสนาหลายแห่ง
จอร์แดนอยู่ในดินแดนที่เรียกว่า Holy Land ได้รับการกล่าวถึงเป็นอย่างมากในฐานะที่เป็นประเทศศูนย์กลางประวัติศาสตร์และศาสนา และมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ศาสนาที่ปรากฏอยู่เป็นจำนวนมากจอร์แดนตั้งอยู่ระหว่างนครเมกกะ (Mecca) เป็นสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของชาวมุสลิม และ กรุงเยรูซาเล็ม (Jerusalem) เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญมากอีกแห่งหนึ่งในภูมิภาค จอร์แดนจึงเป็นประเทศที่มีบทบาทในฐานะที่เป็นศูนย์กลางสำคัญทางประวัติศาสตร์และศาสนา โดยได้มีการพูดถึงดินแดนของจอร์แดนหลายส่วนในทั้งคัมภีร์ กุรอาน และในคัมภีร์ไบเบิล โดยเฉพาะความเกี่ยวข้องกับพระศาสดาต่าง ๆ ที่ได้อยู่หรือได้เดินทางผ่านดินแดนแห่งนี้ในอดีตคนส่วนใหญ่ในประเทศจอร์ดแดน นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ ยังมีประชาชนบางส่วน (ประมาณ ร้อยละ 6) ที่นับถือคริสตศาสนาและศาสนายิว มีสถานที่สำคัญทางศาสนาหลายแห่ง
ศิลปะและวัฒนธรรมภายในประเทศจอร์แดน
จอร์แดน มีสถานที่ที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์และศาสนาที่มีคุณค่าทั้งในด้านศิลปะและวัฒนธรรม ที่ควรค่าแก่การเรียนรู้หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ ทะเลสาบ Dead
Sea เป็นทะเลศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฏอยู่ ใน the Old Testament แม่น้ำจอร์แดน (The River of Jordan) ซึ่งเป็นสถานที่ที่เชื่อกันว่าเป็นที่ที่พระเยซูทรงรับศีลจุ่ม
ณ แม่น้ำจอร์แดนแห่งนี้ แม่น้ำจอร์แดนจึงเป็นสถานที่ที่มีผู้คนเดินทางมาเพื่อแสวงบุญเป็นจำนวนมาก
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
ด้านวิชาการ
ทั้งสองประเทศมีความร่วมมือด้านวิชาการและการศึกษาระหว่างกัน
ฝ่ายไทยได้ให้ทุนฝึกอบรมนานาชาติผ่านสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
ระหว่างประเทศเป็นประจำทุกปี
สาขาที่จอร์แดนสนใจและเข้ารับการอบรม อาทิ การจัดการด้านชลประทาน การบริหาร ธุรกิจส่งออก การพยาบาล การควบคุมโรคติดต่อ และการเกษตร เป็นต้น ส่วนรัฐบาลจอร์แดนมอบทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีสำหรับนักศึกษาไทยปีละ 5ทุน เป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปีการศึกษา 2550-2551โดยมอบทุนแก่นักศึกษาไทยไปศึกษาในสาขา Religious Fundamentals, Figh (ศาสนบัญญัติ)
สาขาที่จอร์แดนสนใจและเข้ารับการอบรม อาทิ การจัดการด้านชลประทาน การบริหาร ธุรกิจส่งออก การพยาบาล การควบคุมโรคติดต่อ และการเกษตร เป็นต้น ส่วนรัฐบาลจอร์แดนมอบทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีสำหรับนักศึกษาไทยปีละ 5ทุน เป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปีการศึกษา 2550-2551โดยมอบทุนแก่นักศึกษาไทยไปศึกษาในสาขา Religious Fundamentals, Figh (ศาสนบัญญัติ)
ด้านวัฒนธรรม ทั้งสองฝ่ายลงนามความตกลงด้านวัฒนธรรมเมื่อปี 2549 และทั้งสองฝ่ายหาแนวทางเพื่อเพิ่มพูนการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมและโบราณคดี
อย่างต่อเนื่อง คณะนาฏศิลป์จอร์แดนได้เดินทางมาแสดงที่ประเทศไทยเมื่อเดือนสิงหาคม 2550
และไทยได้จัดงานสัปดาห์วัฒนธรรมไทยในจอร์แดน ระหว่างวันที่ 16-22
สิงหาคม 2551 ล่าสุด
กระทรวงวัฒนธรรมของจอร์แดนจะส่งคณะนักแสดงมาแสดงที่ประเทศไทยระหว่างวันที่ 15-18
มิถุนายน 2553
ธุรกิจไทยไปลงทุนในจอร์แดนด้วย โดยสาขาที่จอร์แดนสนใจ ได้แก่ เกษตร อุตสาหกรรม สุขภาพ การขนส่ง
เครื่องจักรอุตสาหกรรม ชิ้นส่วนยานยนต์ พลังงานทางเลือก พลาสติก สิ่งทอ โทรคมนาคม
เหมืองแร่ เคมีภัณฑ์ อาหาร โลหะ การท่องเที่ยวและโรงแรม การเงินการธนาคาร เวชภัณฑ์
เครื่องไฟฟ้า และวัสดุก่อสร้าง ทั้งนี้ จอร์แดนพยายามชี้จุดแข็งของการเป็นประตู (gateway) สู่ภูมิภาค โดยเฉพาะ
อิรักความร่วมมือทางวิชาการด้านฝนหลวง กระทรวงน้ำและชลประทาน (Ministry of
Water and Irrigation) ของจอร์แดนขอส่งเจ้าหน้าที่ด้านเทคนิค
มาศึกษาดูงานการทำฝนหลวงของไทย เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับภาวะขาดแคลนฝนในจอร์แดน
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรม ราชานุญาติแล้ว (ตุลาคม 2552)
การเมืองการปกครอง
การปกครอง มีรูปแบบการปกครองระบอบราชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นพระประมุขมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
และมีสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทำหน้าที่นิติบัญญัติแลตรวจสอบรัฐบาลปกครองโดย
กษัตริย์อับดุลลาห์ บิน อัล-ฮุสเซน หรือกษัตริย์อับดุลลาห์ที่2 เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากกษัตริย์ฮุสเซน พระราชบิดา ซึ่งเสด็จสวรรคต โดยกษัตริย์อับดุลลาห์ที่2 ได้ทรงกระทำสัตย์สาบานต่อรัฐสภาจอร์แดนเมื่อวันที่
7 ก.พ. 2542 และทรงปกครองประเทศด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้ระบบรัฐธรรมนูญ
วันชาติ วันประกาศอิสรภาพ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) จอร์แดนเคยอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษและได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 25
พฤษภาคม คศ.1946 หลังจากนั้น ในปี คศ. 1953
กษัตริย์ฮุสเซ็นเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระประมุขของจอร์แดนจนถึงต้นปี
คศ. 1999 และพระราชโอรสองค์โตขึ้นครองราชย์สืบแทนเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลาห์
บิน อัล ฮุสเซน แห่งจอร์แดน จอร์แดนเป็นประเทศขนาดเล็ก
มีเมืองท่าอะกาบาออกทะเลแดงแห่งเดียวทางตอนใต้ของประเทศ ในอดีตกษัตริย์ฮุสเซ็นทรงมีบทบาทอย่างสูงต่อการธำรงเสถียรภาพในภูมิภาค โดยทรงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ
ในการไกล่เกลี่ยปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับ นอกจากนั้น
การที่จอร์แดนได้ลงนาม ความตกลงสันติภาพกับอิสราเอลในปี 1994 ทำให้กษัตริย์ฮุสเซ็นทรงมีความสำคัญต่อกระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพทางตะวันออกกลางในสายตาของสหรัฐฯ และโลกตะวันตกเพิ่มมากขึ้น จอร์แดนดำเนินความสัมพันธ์กับต่างประเทศในลักษณะประเทศที่พยายามเป็นกลาง ไม่เอียงไปทางฝ่ายใดระหว่างกลุ่มตะวันตกกับกลุ่มโลกมุสลิม
จอร์แดนดำเนินนโยบายต่างประเทศ ในลักษณะที่เป็นมิตรกับทุกประเทศ แต่ก็ให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศอาหรับ
และการดำเนินความพยายามแสวงหาสันติภาพในภูมิภาค
รวมทั้งการแก้ไขปัญหาปาเลสไตน์ จอร์แดนสนับสนุนการต่อต้านการก่อการร้าย
และปฏิเสธความพยายามที่จะเชื่อมโยงการก่อการร้ายกับศาสนา วัฒนธรรม
หรือภูมิภาคหนึ่งเป็นการเฉพาะ ดังที่สะท้อนไว้ใน Amman Message ว่า
ศาสนาอิสลามไม่ได้เชื่อมโยงกับการก่อการร้ายและความพยายามที่จะทำร้ายชีวิตผู้บริสุทธิ์
จอร์แดนแสดงความยินดีกับการรับรอง และสนับสนุนข้อเสนอของซาอุดีอาระเบียในการจัดตั้งศูนย์ต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ
ซึ่งได้รับการรับรองในการประชุมระหว่างประเทศเพื่อการต่อต้านการก่อการร้าย ณ
ประเทศซาอุดีอาระเบีย เมื่อต้นปี 2548
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรฮัซไมต์จอร์แดน
จอร์แดนอยู่ติดกับอิสราเอล ปาเลสไตน์และอิรัก ทำให้ต้องดำเนินนโยบายอย่างระมัดระวังเพื่อคงความสัมพันธ์อันดีกับประเทศ เพื่อนบ้าน เสถียรภาพความมั่นคงทางการเมืองในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นปัจจัยสำคัญต่อการ พัฒนาประเทศ รัฐบาลจอร์แดนจึงดำเนินนโยบายส่งเสริมแนวทางอิสลามสายกลาง เป็นมิตรกับทุกประเทศและเน้นหลักการไม่ใช้กำลังในการดำเนินความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ ให้ความสำคัญกับสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ทั้งนี้ จอร์แดนเป็นประเทศพันธมิตรหลักนอกสนธิสัญญานาโต้ ตั้งแต่ปี 2539 จอร์แดนให้ความสำคัญสูงสุดกับปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ สนับสนุนความพยายามของกลุ่มสี่ฝ่าย (สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป รัสเซีย และสหประชาชาติ) ในการผลักดันแผนสันติภาพ (Road Map) เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ในกรอบเวลาที่ชัดเจน และยืนยันตาม Arab Peace Initiative ที่เรียกร้องให้อิสราเอลคืนดินแดนที่ยึดครองให้แก่ปาเลสไตน์ ซีเรียและเลบานอนตามเขตอาณาก่อนปี 2510 สนับสนุนการตั้งปาเลสไตน์เป็นรัฐอิสระโดยมีกรุงเยรูซาเล็มตะวันออกเป็นเมือง หลวง เพื่อนำไปสู่การปรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอาหรับกับอิสราเอลให้เป็นปกติ จอร์แดนได้ลงนามความตกลงร่วมมือกับปาเลสไตน์เมื่อปี 2538 ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่รองรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรจอร์แดน ในขณะเดียวกัน ก็เป็นเพียงอาหรับประเทศเดียวนอกเหนือจากอียิปต์ที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตและได้ลงนามในความตกลงสันติภาพกับอิสราเอลเมื่อปี2537 นอกจากนี้ จอร์แดนยังเป็นภาคีความตกลง Qualifying Industrial Zone (QIZ) ซึ่งเป็นความริเริ่มของสหรัฐฯ เพื่อเสริมสร้างกระบวนการสันติภาพในตะวันออกกลาง เขตอุตสาหกรรมตามความตกลงนี้ได้แก่นิคมอุตสาหกรรมในจอร์แดน (10 แห่ง) และในอิสราเอล ซึ่งสหรัฐฯ จะนำเข้าสินค้าที่ผลิตในนิคมอุตสาหกรรมเหล่านี้ โดยไม่เก็บภาษีศุลกากรและไม่จำกัดปริมาณการนำเข้า แต่ทั้งนี้ สินค้านั้นจะต้องมีมูลค่าเพิ่มในอิสราเอลและจอร์แดนรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 35 และมูลค่าเพิ่มในอิสราเอลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8 ความตกลงนี้เป็นประโยชน์อย่างมากต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอของจอร์แดน เนื่องจากสหรัฐฯ เก็บภาษีจากสินค้านี้ในระดับสูง จอร์แดนสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในอิรักและความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกันของอิรักโดยไม่แทรกแซงกิจการภายในของอิรัก และเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศให้ การสนับสนุนอิรัก จอร์แดนประณามการก่อการร้ายทุกรูปแบบและเห็นว่า การใช้กำลังทหารไม่เพียงพอที่จะจัดการปัญหาการก่อการร้ายระหว่างประเทศ แต่ต้องพิจารณาปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมด้วย จอร์แดนปฏิเสธความพยายามที่จะเชื่อมโยงการก่อการร้ายกับศาสนา ดังที่สะท้อนไว้ใน Amman Message เมื่อปี 2547 ที่สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลเลาะห์ที่ 2 และผู้นำศาสนามุสลิมที่สำคัญจัดทำขึ้นเพื่อการกำหนดแนวทางและการชี้แนะหลัก คำสอนที่แท้จริงของศาสนาอิสลามเพื่อป้องกันการบิดเบือนหลักคำสอน นอกจากนี้ จอร์แดนรับรองสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายแล้วทั้ง สิ้น 7 ฉบับ
ลักษณะทั่วไป
เป็นดินแดนที่ถูกกล่าวอ้างในพระคัมภีร์ไบเบิล
ว่าเป็นเมืองที่สาบสูญและลอว์เรนซ์แห่งอาระเบีย จอร์แดนเป็นประเทศที่มีมนต์ขลังและไม่ได้เป็นประเทศที่มีแค่ความโรแมนติกและความลึกลับ
ถ้ามันตั้งอยู่ในส่วนอื่น ๆ ของโลก จอร์แดนจะเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว
แต่ด้วยที่มาที่เต็มไปด้วยสถานที่ที่ตื่นตาตื่นใจเป็นสาเหตุให้เกิดความแตกยาก
ชื่อเสียงที่เป็นอันตรายและสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัยในตะวันออกกลางช่วยรักษามันเอาไว้สำหรับนักเดินทางที่กล้าหาญ
แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ จอร์แดนเป็นประเทศที่มีปลอดภัยสูง เงียบสงบและเป็นมิตร
ในประเทศจอร์แดนไม่มีแหล่งน้ำมันเหมือนประเทศเพื่อนบ้านและมีแหล่งก๊าซธรรมชาติอยู่เล็กน้อย จอร์แดนเป็นหนึ่งในประเทศส่วนใหญ่ที่มีความกระตือรือร้นและมีความก้าวหน้าในตะวันออกกลางมีโอกาสเป็นไปได้สูงที่จะมีการตกลงและทำให้การท่องเที่ยวกลายเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศแม้จะเป็นประเทศเล็กๆ จอร์แดนเป็นหัวใจหลักในการต่อสู้ในตะวันออกกลาง สืบเนื่องจากมันตั้งอยู่บนจุดเชื่อมต่อสำคัญของคนสามกลุ่มคือ ชาวคริสต์ ชาวยิวและชาวมุสลิม จึงเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า “ดินแดนศักดิ์สิทธิ์” จึงเป็นสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก จอร์แดนเป็นบ้านและเมืองที่เคยเจริญรุ่งเรืองมานานก่อนหน้าที่จะมีการถือกำเกิดของพระเยซูคริสต์ คุณสามารถเดินทางท่องเที่ยวไปบนถนนที่ถูกกล่าวอ้างไว้ในพระคัมภีร์เก่า ซึ่งมีสภาพไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากในช่วงกว่า 2,000 ปีที่ผ่านมา เยี่ยมชมเปตราเมืองที่สาบสูญ ถือว่าเป็นหนึ่งในแปดเมืองที่น่าแปลกใจของโลกหรือชมการการแข่งขันรถม้าศึกในโรมันฮิบโปโดมที่ถูกบูรณะขึ้นใหม่ในจีราช ยืนอยู่บนจุดที่พระเยซูทรงรับบัพติศจากจอห์นในแม่น้ำจอร์แดน และตายรอยเท้าของลอว์เรนซ์แห่งอาระเบียจากกองบัญชาการของเขาที่อาซรักเข้าไปในป่าวาดีรัม
จุดเด่นประเทศจอร์แดน
บรรยากาศนั่งอูฐในทะเลทราย
จุดเด่นที่เป็นสิ่งสุดท้ายและดีที่สุดจากทั้งหมด มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่ไม่ได้สัมผัสบรรยากาศเหล่านั้นคุณสามารถนั่งอูฐในทะเลทรายไปกับชนเผ่าเร่ร่อนชาวเบนูอินแล้วไปดำน้ำดูโลกใต้ท้องทะเลที่สวยงามของทะเลแดง กิจกรรมที่มากมายเหล่านี้ทำให้จอร์แดนกลายเป็นปลายทางที่น่าตื่นตาตื่นใจและนักท่องเที่ยวที่มีความต้องการที่จะท่องเที่ยวได้รับการตอบแทนอย่างดีดังนั้นอย่าปล่อยให้อันตรายที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางเป็นอุปสรรคทำให้คุณไม่ได้มาสำรวจดินแดนที่มีความปลอดภัยและความสงบสุขแห่งนี้ได้
แหล่งอ้างอิง http://webserv.kmitl.ac.th/s0050253/Other.html http://sameaf.mfa.go.th/th/country/middle-east/detail.php?ID=36 http://www.vacationzone.co.th/index_jordan.asp |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น