วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

เคล็ดลับความรู้การเขียนรายงานที่ดี



เคล็ดลับความรู้ การเขียนรายงาน




การเขียนรายงาน  คือ  การเขียนรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของบุคคลในหน่วยงาน  ซึ่งรายงานแต่ละประเภทนั้น  ก็จะมีวิธีการเขียนที่แตกต่างกันออกไป  รายงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการบริหารงาน  และการที่จะเสนอการเขียนรายงานนั้นให้ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถผลิตออกมาได้อย่างรวดเร็วนั้น  ควรที่จะมีการวางแผนกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของแต่ละรายงานไว้ด้วย


1.  ความหมายและความสำคัญของรายงาน
    รายงาน  คือ  การเสนอรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของบุคคลของหน่วยงาน  เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการบริหารงานทั้งในหน่วยงานราชการและธุรกิจเอกชน  เพราะรายงานจะบรรจุข้อมูลพื้นฐานที่ช่วยให้บุคลากรของหน่วยงานทราบนโยบาย  เป้าหมาย  ผลการปฏิบัติงาน  ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในการดำเนินงาน  ซึ่งการทำรายงานมีจุดมุ่งหมายคือ
    1.1  เพื่อฝึกฝนให้นักศึกษามีนิสัยรักการเขียน
    1.2  เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ ความคิดริเริ่ม รู้จักแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล
    1.3  เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
    1.4  เพื่อฝึกให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์เรื่องราวต่าง ๆ อย่างถูกต้อง
    1.5  เพื่อส่งเสริมและฝึกทักษะทางภาษา
    1.6  เพื่อปูพื้นฐานการศึกษาค้นคว้าและการเขียนรายงานสำหรับการศึกษาในขั้นสูงขึ้น

2.  ประเภทของรายงาน

    2.1  รายงานธรรมดา  หรือรายงานทั่วไป  เป็นรายงานข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นของบุคคลเกี่ยวกับเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวของบุคคลสำคัญ หรือสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
    2.2  รายงานทางวิชาการ  เป็นรายงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าวิจัย  และมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์
            2.2.1  ภาคนิพนธ์หรือรายงานประจำภาค  เป็นรายงานที่เรียบเรียงและรวบรวมจากการศึกษาค้นคว้าเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ
            2.2.2  วิทยานิพนธ์  เป็นรายงานที่เรียบเรียงจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยข้อเท็จจริงอย่างละเอียดลึกซึ้งรอบคอบตามลำดับขั้นตอนของการวิจัย

    ส่วนประกอบของการเขียนรายงาน
    -  หน้าปก  อาจเป็นกระดาษแข็งสีต่าง ๆ
    -  หน้าชื่อเรื่อง  ควรเขียนด้วยตัวบรรจงชัดเจนถูกต้อง เว้นระยะริมกระดาษด้านซ้ายและขวามือให้เท่ากัน
    -  คำนำ  ให้เขียนถึงมูลเหตุจูงใจที่เขียนเรื่องนั้นขึ้น  แล้วจึงบอกความมุ่งหมายและขอบเขตของเนื้อเรื่องในย่อหน้าที่สอง ส่วนย่อหน้าสุดท้ายให้กล่าวคำขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในการจัดทำการค้นคว้านั้นจนเป็นผลสำเร็จ
    -  สารบัญ  หมายถึง  บัญชีบอกบท
    -  สารบัญตาราง  ให้เปลี่ยนคำว่า "บทที่"  มาเป็น "ตารางที่"
    -  สารบัญภาพประกอบ  เพื่อเสริมคำอธิบายเนื้อเรื่องให้เข้าใจง่ายและสมบูรณ์มากขึ้น
    -  ส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง  ต้องลำดับความสำคัญของโครงเรื่องที่วางไว้ ถ้าเป็นรายงานขนาดยาวควรแบ่งเป็นบท
    -  อัญประกาศ  เป็นส่วนประกอบเนื้อเรื่องให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ  โดยนำข้อความที่ตัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของคนอื่นมาเขียนไว้ในรายงานของตน
    -  เชิงอรรถ  คือ  ข้อความที่ลงไว้ตรงท้ายสุดของหน้า เพื่อบอกที่มาของข้อความที่ยกมาหรืออธิบายคำ
    -  ตารางภาพประกอบ  ให้แสดงไว้ในส่วนของเนื้อเรื่องด้วย
    -  บรรณานุกรม  คือ  รายชื่อหนังสือ  สิ่งพิมพ์และวัสดุอ้างอิงทุกประเภทที่ผู้ทำรายงานใช้ประกอบการเรียนและการค้นคว้า
    -  ภาคผนวก  คือ  ข้อความที่นำมาเพิ่มเติมในตอนท้ายของรายงาน  เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้อ่านเข้าใจยิ่งขึ้น
    -  ดรรชนี  คือ  หัวข้อย่อย  หรือบัญชีคำที่นำมาจากเนื้อเรื่องในหนังสือ  โดยจัดเรียงลำดับตั้งแต่ตัว ก-ฮ และบอกเลขหน้าที่คำนั้นปรากฎอยู่ในเรื่อง ดรรชนีจะช่วยผู้อ่านในกรณีที่ต้องการค้นหาคำหรือหัวข้อย่อย ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

3.  การเขียนรายงาน

    1.  ควรเขียนให้สั้นเอาแต่ข้อความที่จำเป็น
    2.  ใจความสำคัญควรครบถ้วนเสมอว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร
    3.  ควรเขียนแยกเรื่องราวออกเป็นประเด็น ๆ
    4.  เนื้อความที่เขียนต้องลำดับไม่สับสน
    5.  ข้อมูล  ตัวเลข  หรือสถิติต่าง ๆ ควรได้มากจากการพบเห็นจริง
    6.  ถ้าต้องการจะแสดงความคิดเห็นประกอบ ควรแยกความคิดออกจากตัวข่าวหรือเรื่องราวที่เสนอไปนั้น
    7.  การเขียนบันทึกรายงาน  ถ้าเป็นของทางราชการ  ควรเป็นรูปแบบที่ใช้แน่นอน
    8.  เมื่อบันทึกเสร็จแล้ว  ต้องทบทวนและตั้งคำถามในใจว่า ควรจะเพิ่มเติมหรือตัดทอนส่วนใดทิ้ง  หรือตอนใดเขียนแล้วยังไม่ชัดเจน ก็ควรจะแก้ไขเสียให้เรียบร้อย

4.  การเขียนรายงานจากการค้นคว้า

    4.1  รายงานค้นคว้าเชิงรวบรวม  เป็นการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาเรียบเรียงปะติดปะต่อกันอย่างมีระบบระเบียบ
    4.2  รายงานค้นคว้าเชิงวิเคราะห์  การนำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มาวิเคราะห์ หรือค้นหาคำตอบในประเด็นให้ชัดเจน
5.  วิธีการนำเสนอรายงาน

    -  รายงานด้วยปากเปล่า (Oral Reports)  หรือเสนอด้วยวาจา  โดยการเสนอแบบบรรยายต่อที่ประชุมต่อผู้บังคับบัญชา ฯลฯ  ในกรณีพิเศษเช่นนี้ ควรจัดเตรียมหัวข้อที่สำคัญ ๆ ไว้ให้พร้อม  โดยการคัดประเด็นเรื่องที่สำคัญ  จัดลำดับเรื่องที่จะนำเสนอก่อนหน้าหลังไว้
    -  รายงานเป็นลายลักษณ์อักษร (Written Reports)  มักทำเป็นรูปเล่ม  เป็นรูปแบบการนำเสนออย่างเป็นทางการ (Formal Presentation)

6.  ลักษณะของรายงานที่ดี

    1.  ปกสวยเรียบ
    2.  กระดาษที่ใช้มีคุณภาพดี มีขนาดถูกต้อง
    3.  มีหมายเลขแสดงหน้า
    4.  มีสารบัญหรือมีหัวข้อเรื่อง
    5.  มีบทสรุปย่อ
    6.  การเว้นระยะในรายงานมีความเหมาะสม
    7.  ไม่พิมพ์ข้อความให้แน่นจนดูลานตาไปหมด
    8.  ไม่การการแก้ ขูดลบ
    9.  พิมพ์อย่างสะอาดและดูเรียบร้อย
    10. มีผังหรือภาพประกอบตามความเหมาะสม
    11. ควรมีการสรุปให้เหลือเพียงสั้น ๆ แล้วนำมาแนบประกอบรายงาน
    12. จัดรูปเล่มสวยงาม

7.  การเลือกใช้สื่อและอุปกรณ์ในการนำเสนอ

    มีโสตทัศนูปกรณ์ชนิดต่าง ๆ มากมายที่สามารถนำมาใช้ในการนำเสนอ  แต่ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้สื่อหรืออุปกรณ์ชนิดใดแล้ว  ควรวิเคราะห์เสียก่อนว่าสื่อหรืออุปกรณ์ใดจะเหมาะสมและสอดคล้องกับเรื่องที่จะนำเสนอนั้น ๆ โดยวิเคราะห์จาก
    -  ขนาดและลักษณะของผู้ฟัง
    -  เวลาที่ใช้ในการนำเสนอ
    -  เวลาสำหรับการผลิตสื่อ
    -  งบประมาณ

    โสตทัศนูปกรณ์และสื่อสำหรับใช้ในการนำเสนอ  ควรจะสอดคล้องและเหมาะสมกับเรื่องราวในโลกยุคปัจจุบัน  เราอาจจัดหามาได้หลาย ๆ อย่างเช่น
    -  เครื่องเสียงชนิดต่าง ๆ
    -  ชอล์ก/กระดานดำ
    -  ฟลิปชาร์ต/แผนภูมิ/ของจริง
    -  แผนผัง/แผนที่
    -  เครื่องฉายไมโครฟิล์ม
    -  เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ/ภาพถ่าย/แผ่นใส
    -  เครื่องฉายภาพยนตร์ทุกชนิด
    -  ทีวี/วีดีโอ/ภาพจากวีดีโอ
    -  เครื่องฉายสไลด์/ภาพสไลด์/มัลติวิชั่น
    -  ภาพจากจอคอมพิวเตอร์

    ประโยชน์ของการเตรียมโสตทัศนูปกรณ์และสื่อสำหรับใช้ในการนำเสนอ  จะเพิ่มอรรถรสในการบรรยายรายงานด้วยวาจาเพราะสามารถช่วยในเรื่อง  ดังนี้
    1.  ผู้รับรายงานสามารถเห็นและคิดได้โดยตรงในทันที
    2.  มีความกระจ่างชัดและสามารถเน้นจุดสำคัญเป็นพิเศษได้ตรงจุด
    3.  ช่วยในการสรุปประเด็น

ส่วนต่าง ๆ ของรายงาน  มี  3  ส่วน  ดังนี้

        1.  ส่วนหน้า  ประกอบด้วย  หน้าปก  ใบรองปกหน้า  (กระดาษเปล่า)  หน้าปกใน  หน้าคำนำ  หน้าสารบัญ
        2.  ส่วนกลาง  ประกอบด้วย  เนื้อเรื่อง  เชิงอรรถ
        3.  ส่วนท้าย  ประกอบด้วย  บรรณานุกรม  ภาคผนวก  ใบรองปกหลัง (กระดาษเปล่า)  ปกหลัง


การเขียนส่วนต่าง ๆ ของรายงานแต่ละส่วน

        1.  การเขียนปกรายงานและการเขียนหน้าปกใน 

             1.1  การเขียนปก  ให้เขียนชื่อเรื่อง  และผู้เขียนรายงาน  กลางหน้ากระดาษ  ไม่ต้องใส่คำว่า  ชื่อเรื่อง  และผู้เขียนรายงาน 
             1.2  การเขียนหน้าปกในให้เขียนโดยแบ่งเป็น  3  ส่วน  ดังนี้

                    ส่วนบน  ให้เว้นระยะ  2  นิ้ว  จากขอบกระดาษบนถึงบรรทัดแรกของรายงาน และเขียน ชื่อเรื่องของรายงาน  ใส่เฉพาะชื่อเรื่องที่เขียนรายงาน  ไม่ต้องใส่คำว่า  ชื่อเรื่อง  

                    ส่วนกลาง  เว้นจากส่วนบนลงมาประมาณ  2  บรรทัดใส่คำว่าโดย  และชื่อผู้เขียนรายงาน ไม่ต้องใส่คำว่า  ผู้เขียนรายงาน
                    ส่วนล่าง  ให้เว้นระยะ  1  นิ้ว  จากขอบกระดาษล่างถึงบรรทัดสุดท้ายของส่วนล่าง  บรรทัดแรกของส่วนล่างระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิชาใด ชั้นอะไร ภาคเรียนที่เท่าใด ปีการศึกษาใด  ใครเป็นครูผู้สอน


        2.  การเขียนคำนำ

             การเขียน “คำนำ” อยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านบน  2  นิ้ว ผู้เขียนรายงานจะระบุวัตถุประสงค์ ขอบเขตของเนื้อเรื่อง   หรือแนวการค้นคว้า   และคำขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือให้ การค้นคว้ารวบรวม และเรียบเรียงรายงานนั้นให้สำเร็จลงด้วยดี เมื่อหมดข้อความแล้วลงชื่อผู้เขียน วัน  เดือน ปี  ที่เขียน  ถ้าเป็นรายงานกลุ่มเขียนคำว่า คณะผู้จัดทำ หน้าคำนำมักนิยมใส่เลขหน้าในวงเล็บไว้ด้านล่าง


        3.  การเขียนสารบัญ

          การเขียน  “สารบัญ”  ผู้เขียนรายงานจะแบ่งเป็นบท  เป็นตอนระบุเนื้อเรื่องที่ปรากฏในรายงาน เรียง  ตามลำดับ การเว้นระยะในการเขียนจะอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านบน  2  นิ้ว  และข้อความในสารบัญ จะอยู่ห่างจากริมซ้ายของกระดาษเข้าไป  1.1  นิ้ว  เริ่มตั้งแต่ คำนำ  บท  และ ชื่อของบท จนถึงส่วนท้าย คือบรรณานุกรม และภาคผนวก เลขหน้าทางด้านขวามือจะอยู่ห่างจากขอบขวาของกระดาษ 1.1 นิ้ว ผู้เขียนรายงานต้องทำรายงานเรียบร้อยแล้วจึงจะระบุเลขหน้าได้ว่า บทใด  ตอนใด  อยู่หน้าใด



การนำบัตรข้อมูลที่บันทึกตามโครงเรื่องมาเขียนเนื้อหาของรายงาน

        การเขียนเนื้อเรื่อง  เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด   เพราะผลการค้นคว้ารวบรวมทั้งหมดที่บันทึก ลงในบัตรบันทึกข้อมูลจะนำมาเรียบเรียงไว้ในส่วนนี้ เรียงตามลำดับโครงเรื่องที่ปรากฏในสารบัญ ครอบคลุมตั้งแต่บทแรกถึงบทสุดท้าย ในหน้าแรกของเนื้อเรื่องไม่ต้องใส่เลขหน้าเว้นจากขอบบนของหน้ากระดาษลงมา 2 นิ้ว  ไว้กลางหน้ากระดาษ   ทุกครั้งที่ขึ้นบทใหม่ไม่ใส่เลขหน้าเฉพาะหน้านั้นแต่ให้นับหน้าด้วย การเว้นระยะจากขอบล่างขึ้นมา  ให้เว้น  1 นิ้ว  จากขอบซ้ายของหน้ากระดาษเข้ามาเว้น  1.5  นิ้ว  จากขอบของหน้ากระดาษเข้ามา  เว้น  1 นิ้ว  ส่วนการย่อหน้าทุกครั้งให้เว้น 6  ช่วงตัวอักษร  เขียนตัวที่  7


การทำบรรณานุกรมท้ายเล่ม

        การลงบรรณานุกรม  หากมีเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศให้ลงภาษาไทยก่อน  เรียงตามลำดับประเภท  และในแต่ละประเภทเรียงตามลำดับอักษรผู้แต่ง   หรือเรียงตามลำดับอักษรรวมกันไม่แยกประเภท

การเขียนบรรณานุกรม



ความหมายของบรรณานุกรม

        บรรณานุกรม  คือ  รายชื่อหนังสือเอกสาร  สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งโสตทัศนวัสดุ  และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ ที่นำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงในการเขียนรายงาน  โดยเรียงตามลำดับอักษรไว้ท้ายเรื่อง

จุดมุ่งหมายในการเขียนบรรณานุกรม
        1.  ทำให้รายงานนั้นเป็นรายงานที่มีเหตุผล  มีสาระน่าเชื่อถือ
        2.  เป็นการเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่นจึงนำมาอ้างไว้
        3.  เป็นแนวทางสำคัญสำหรับผู้สนใจต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม โดยศึกษาได้จากบรรณานุกรมนั้น ๆ 
        4.  สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างได้



วิธีเขียนบรรณานุกรม

        การเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือ  ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลจากหน้าปกใน และด้านหลังของหน้าปกใน ของหนังสือเล่มที่บันทึกข้อมูลมาเขียนบรรณานุกรม  การเขียนบรรณานุกรมจากวารสาร นำข้อมูลจากหน้าปก ของวารสารฉบับที่บันทึกข้อมูล มาเขียนบรรณานุกรม  และการเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือพิมพ์ นำข้อมูลจากหน้าแรกของหนังสือพิมพ์มาเขียนบรรณานุกรม  และการเขียนบรรณานุกรมจากสื่ออีเล็กทรอนิกส์ นำข้อมูลจากหน้าแรกของเว็บเพจมาเขียนบรรณานุกรม    ดังนี้
        1.  เขียนไว้ในส่วนท้ายของรายงาน
        2.  เขียนเรียงลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ในกรณีที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้เขียนบรรณานุกรมภาษาไทยก่อน
        3.  บรรทัดแรกของบรรณานุกรมชิดด้านซ้ายที่เว้นจากขอบกระดาษเข้ามา  1.5  นิ้ว  ถ้ายังไม่จบ เมื่อขึ้นบรรทัดใหม่โดยย่อหน้าเข้ามาประมาณ  7  ช่วงตัวอักษรของบรรทัดแรก  ให้เขียนตรงกับช่วงตัวอักษรที่  8 
        4.  รายละเอียดในโครงสร้างรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือ   มีดังนี้



1. โครงสร้างรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือ




    1.1  การอ้างถึงชื่อผู้แต่ง           1.1.1  ผู้แต่งคนเดียว



           1.1.2  ผู้แต่ง  2  คน ให้ใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2



           1.1.3  ผู้แต่ง  3  คน  ให้ใส่เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2  และใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  2  กับคนที่  3



           1.1.4  ผู้แต่งตั้งแต่  3  คนขึ้นไป  ลงเฉพาะชื่อแรก  และตามด้วยคำว่า  และคนอื่น ๆ



           1.1.5  หนังสือที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง  ให้ใช้ชื่อเรื่องเป็นรายการแรกแทนชื่อผู้แต่ง



           1.1.6  ผู้แต่งใช้นามแฝง  ให้ใช้นามแฝงได้เลย



           1.1.7  หนังสือแปล  ให้ใส่ชื่อ  นามสกุลของผู้แต่ง ก่อนผู้แปล



           1.1.8  ผู้แต่งมีบรรดาศักดิ์  ให้ใส่ชื่อ  นามสกุล  ตามด้วยบรรดาศักดิ์



    1.2  รูปแบบของบรรณานุกรมหนังสือ 


           รูปแบบของบรรณานุกรม  มี  2  แบบ 


           1.2.1  การอ้างอิงแยกจากเนื้อหาอยู่ท้ายของรายงาน   
                     1)  การอ้างอิงเนื้อหาบางบท  หรือบางตอน  ในหนังสือเล่มเดียวจบ    ให้ใส่ชื่อบท หรือตอน  ใช้คำว่า “ใน” ตามด้วยชื่อหนังสือ  และระบุหน้า  เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์






                     2)  การอ้างอิงเนื้อหาบางบท  หรือบางตอน  ของหนังสือบางเล่มที่มีหลายเล่มจบ ใช้คำว่า “ใน” ตามด้วยชื่อหนังสือ  ระบุเล่ม  และหน้าตามด้วยเลขหน้าที่อ้างอิง เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์



                     3)  การอ้างอิงตลอดทุกเล่มที่มีหลายเล่มจบ  ให้ระบุจำนวนเล่ม ตามด้วย เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์



                     4)  การอ้างอิงเพียงเล่มใดเล่มหนึ่ง  ให้ระบุเล่มที่อ้างอิงตามด้วย เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์

           1.2.2  การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา                     1)  เมื่อต้องการจะแทรกในเนื้อหาสามารถแทรกวงเล็บพร้อมกับอ้างอิงได้ทันที  เมื่อจบข้อความ                          1.1)  รายการอ้างอิง  ประกอบด้วย  ชื่อ  นามสกุลผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค  หน้า/เลขหน้าที่อ้างถึง

                          1.2)  หากไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อหน่วยงานแต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค  หน้า/เลขหน้าที่อ้างถึง



                          1.3)  หากไม่ระบุปีที่พิมพ์  และเลขหน้า  ให้ใช้ตัวอักษรย่อ  “ม.ป.ป.”  ย่อมาจากคำว่า  ไม่ปรากฏเลขหน้า  และระบุคำว่า  ไม่มีเลขหน้าลงไปได้เลย

                     2)  ถ้าระบุชื่อผู้แต่งลงในเนื้อหาแล้วอ้างต่อทันทีในวงเล็บ  ไม่จำเป็นต้องระบุ ชื่อผู้แต่งซ้ำอีก



                     ยกเว้นผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติ

                     3)  การอ้างถึงเอกสารที่ไม่สามารถค้นหาต้นฉบับจริงได้  ให้อ้างจากเล่มที่พบ  ใช้คำว่า  “อ้างถึงใน”  หากเป็นบทวิจารณ์  ใช้คำว่า  “วิจารณ์ใน”



                     4)  การอ้างถึงเฉพาะบท  ใช้คำว่า  “บทที่”



                     5)  การอ้างถึงตาราง  ในเนื้อหา  ใช้คำว่า  “ดูตารางที่”  การอ้างถึงภาพในเนื้อหา  ใช้คำว่า  “ดูภาพที่”



2. โครงสร้างและรูปแบบบรรณานุกรมวารสาร



    2.1  การเขียนบรรณานุกรมจากบทความในวารสาร  มีปีที่  และฉบับที่

    2.2  บทความในวารสาร  ที่ไม่มีปีที่  ออกต่อเนื่องทั้งปี



3. โครงสร้างและรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือพิมพ์



    3.1  การเขียนบรรณานุกรมบทความในหนังสือพิมพ์



    3.2   การเขียนบรรณานุกรมข่าวจากหนังสือพิมพ์  ให้เขียนหัวข่าว



    3.3  การเขียนบรรณานุกรมจากคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์



4. รูปแบบบรรณานุกรมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระบบออนไลน์  (Online) หรืออินเทอร์เน็ต
    4.1  เว็บเพจ มีผู้เขียน  หรือมีหน่วยงานรับผิดชอบ



    4.2  เว็บเพจไม่ปรากฏผู้เขียน  และปีที่จัดทำ ใส่  ม.ป.ป.  (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์)



วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

Modernization Theory of Postmodernism

ทฤษฎีความทันสมัย และแนวคิดหลังสมัยใหม่


     สังคมที่เราอาศัยอยู่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอยู่ตลอดเวลา มีแนวคิดและการปฏิบัติที่แตกต่างขัดแย้งกันอยู่เสมอ แนวคิดและการปฏิบัติถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดปัญหาสังคมทุกยุคทุกสมัย  ในสังคมวิทยา ก็มีการคิดและการปฏิบัติที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง มีการคิดใหม่และทำใหม่อยู่เสมอ  (Meta-theories) ดังนั้น การศึกษาสังคมวิทยาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาวิเคราะห์รู้เข้าใจแนวความคิดทางสังคมที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัยทั้งใหม่และเก่า เพื่อความรู้เข้าใจสังคมวิทยาปัจจุบัน จึงขอเสนอแนวความคิดทางสังคม 2ประเภท คือ ความคิดสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ (Modernism and Postmodernism)

1. ทฤษฎีความทันสมัย (Modernization Theory)
 นับตั้งแต่มีการสร้างวาทกรรมที่เรียกว่า การพัฒนา” (Development) โดยกรอบการพัฒนาที่มหาอำนาจตะวันตกกำหนดขึ้นมาเป็น วาทกรรม คือ ความรู้ชุดหนึ่งที่กำหนดความหมายและลักษณะของการพัฒนาและด้อยพัฒนา ซึ่งมีผลอย่างมากต่อความเป็นไปของทิศทางการพัฒนาในประเทศโลกที่สาม เพราะสถาบันการพัฒนาต่างๆ จะใช้กรอบความคิดที่ถูกกำหนดขึ้นมานี้เป็นฐานในการช่วยเหลือการพัฒนาในประเทศโลกที่สามให้เป็นทุนนิยม ซึ่งทฤษฎีการสร้างความทันสมัย(Modernization Theory) เป็นทฤษฎีที่สร้างขึ้นเพื่อมุ่งจะอธิบายการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมประเทศกำลังพัฒนามากที่สุด และได้กลายเป็นทฤษฎีกระแสหลักของการพัฒนาสังคมโลก
   ทฤษฎีความทันสมัย ได้รับอิทธิพลทางความคิดมาจากนักสังคมวิทยายุคแรก ๆ คือ เอมิล เดิร์คไคม์ (E.Durkhiem) และ แม็ก เวเบอร์ (Max Weber) ซึ่งทั้งสองท่านก็ได้รับอิทธิพลจาก ชาร์ล ดาร์วิน (Charles Darwin) ในเรื่องการวิวัฒนาการของสังคม เดอร์คไคม์ สนใจการเปลี่ยนแปลงสังคมมนุษย์ เขาได้เสนอว่ารูปแบบหลักของสังคมมี 2 รูปแบบ คือ สังคมแบบดั้งเดิม และสังคมสมัยใหม่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมแบบสมัยใหม่นี้ เดอร์คไคม์มองว่า เป็น ความสัมพันธ์แบบอินทรีย์” (organic solidarity) ซึ่งอยู่ในกรอบแนวคิดวิวัฒนาการของ ชาร์ล ดาร์วิน นั่นเอง

ทฤษฎีความทันสมัยได้ส่งผลต่อกระบวนการพัฒนาที่สำคัญ ดังนี้

      1) ทฤษฎีความทันสมัย ได้ให้ความสำคัญกับบทบาทของระบบคุณค่า ปทัสฐาน ความเชื่อ การกำหนดรูปแบบของสังคม การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมด้วย

         2) ประวัติศาสตร์ของการกลายเป็นอุตสาหกรรมตะวันตกมิได้รับการพิจารณาเพียงแค่คุณลักษณะเฉพาะของประเทศต่างๆ ทั่วโลก อย่างเช่นที่ ไอเซนตาร์ตท(Eisenstadt) กล่าวว่า โดยประวัติศาสตร์แล้ว การพัฒนาไปสู่ความทันสมัยคือกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบของระบบสังคมเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งได้พัฒนาขึ้นมาในยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17-19
       3) สังคมสมัยใหม่เกิดขึ้นมาเมื่อแบบแผนพฤติกรรมในสังคมดั้งเดิมหลีกทางให้กับความทันสมัย (คือการเสื่อมของระเบียบแบบแผนของสังคมดั้งเดิม) ในสังคมตะวันตก ความกดดันหรือแรงบีบซึ่งนำไปสู่ความทันสมัยนั้นเกิดขึ้นภายในสังคมตะวันตกเอง แต่ในประเทศกำลังพัฒนาความกดดันหรือแรงบีบคั้นต่อสังคมแบบดั้งเดิมมาจากภายนอก
    4) เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว กระบวนการนำไปสู่ความทันสมัยในปัจจุบันจึงเป็นเรื่องของการ แพร่กระจาย” การแพร่กระจายนี้อาจเป็นไปได้หลายรูปแบบ หลายกระบวนการ อย่างเช่นการเกิดขึ้นและแพร่หลายของสังคมเมือง ซึ่งมีรากฐานมาจากระบบครอบครัวเดี่ยว การขยายตัวของการศึกษาที่ทำให้คนอ่านออกเขียนได้ การพัฒนาของระบบสื่อสารมวลชนที่ช่วยให้เกิดการกระจายข้อมูลข่าวสารและความคิดต่างๆ ได้กว้างขวาง ฯลฯ

 แนวคิดทฤษฎีการพัฒนาไปสู่ความทันสมัย 
ถือได้ว่าเป็นแนวคิดที่ชี้นำการพัฒนาของไทยทั้งการพัฒนาประเทศและการพัฒนาสาขาต่างๆ ตลอดช่วงกว่า 30 ปี ที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าแนวคิดดังกล่าวจะมีข้อโต้แย้งต่าง ๆ แต่ก็ยังถือว่าเป็นแนวคิดกระแสหลักอยู่ ประเด็นที่เป็นข้อโต้แย้งหลัก ๆ ต่อกลุ่มแนวคิดนี้มาจากความเชื่อที่ว่า วิวัฒนาการของสังคมแต่ละสังคมอาจจะเป็นไปได้หลายอย่าง และขั้นตอนการพัฒนาก็อาจไม่จำเป็นต้องผ่านขั้นตอนที่เหมือนกัน กลุ่มที่โต้แย้งแนวคิดการพัฒนาสู่ความทันสมัย (โดยเฉพาะกลุ่มทฤษฎีพึ่งพา) ชี้ว่าที่แท้จริงความทันสมัยในทางเศรษฐกิจ มีความหมายเท่ากับกระบวนการเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรม ในทางสังคมวัฒนธรรมModernizationมีความหมายเท่ากับ Westernization และที่สำคัญก็คือ ภาวะความทันสมัยอาจจะไม่ใช่สภาวะการพัฒนาที่สังคมพึงปรารถนา หรือมีความทันสมัยแต่ไม่พัฒนานั่นเอง

2. แนวคิดหลังสมัยใหม่ (Postmodernism)

แนวคิดหลังสมัยใหม่ (Postmodernism) บางทีใช้คำว่าหลังสมัยใหม่ หรือแนวคิดหลังยุคนวนิยม เป็นแนวคิดทางการเมือง ปรัชญา วัฒนธรรม สังคม ดนตรี และอื่น ๆ ที่ก่อตัวขึ้นโดยมีมุมมองที่ต่างออกไปจากมุมมองทางความคิดแบบเดิม ๆ ของโลก ไม่ว่าจะแนวคิดลัทธิก่อนสมัยใหม่ หรือแนวคิดลัทธิสมัยใหม่ แนวคิดหลังสมัยใหม่ถูกจัดเข้ารวมกับทฤษฎีสายวิพากษ์

   การกำเนิดของแนวคิดหลังสมัยใหม่
       ในช่วงปลายสมัยใหม่ของภูมิปัญญาตะวันตก มีความเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างถูกสร้างขึ้นเพื่อความทันสมัย บางครั้งก็เรียกรวมๆว่าความคิดแบบสมัยใหม่นิยม (modernism) กล่าวได้ว่าความคิดทันสมัยมีรากเหง้ามาจากทฤษฎีความคิดในยุคภูมิปัญญา (enlightenment) นักคิด นักปรัชญาการเมืองในยุคสมัยใหม่แข่งขันกันนำเสนอวิสัยทัศน์ที่เกี่ยวกับชีวิตที่ดี สังคมที่ดี ที่สำคัญคือ แนวคิดเสรีนิยม (liberalism)ที่เห็นว่าปัจเจกบุคคลต้องสละประโยชน์ส่วนตัว หาทางสร้างระบบการเมืองเสรีประชาธิปไตยขึ้นมารองรับ กับแนวคิดมาร์กซิสม์ ที่ต่างต้องการสร้างโลกใหม่ที่ไม่ตกอยู่ภายใต้การขูดรีดจากระบบทุนนิยม ความเชื่อในยุคสมัยใหม่กล่าวได้ว่ามีศรัทธาแรงกล้าต่อความก้าวหน้า การที่สังคมมีหลักพื้นฐานอันประกอบด้วยสัจจะ ค่านิยมหลัก และความเชื่อมั่นเรื่องสังคมก้าวหน้ารวมเรียกกันว่าแนวคิดสถาปนานิยม ที่พยายามสถาปนาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวให้เกิดขึ้นในสังคมผ่านการสร้างค่านิยมความเชื่อต่างๆขึ้นมาครอบครองความคิดมนุษย์ในสังคม ในเวลาต่อมาจึงเกิดความคิดหลังสมัยใหม่ (postmodern) ที่เสนอให้ปฏิเสธความแน่นอน หนึ่งเดียว นักคิดหลังสมัยใหม่ ปฏิเสธเรื่องสัจจะสมบูรณ์สูงสุดเป็นสากล โดยเห็นว่าเป็นเพียงการโอ้อวด แต่เสนอว่าไม่มีศูนย์กลางความเป็นหนึ่งเดียว และสังคมดำรงอยู่อย่างแตกต่างหลากหลายความคิดและแนวคิดใด ๆทั้งหมดเป็นเรื่องที่ได้รับการแสดงออกในรูปภาษาโดยที่ภาษาหรือการใช้ภาษาสื่อความหมายนั้นล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ทางอำนาจอันซับซ้อน ดังนั้นปรัชญาและทฤษฎีการเมืองจึงมิอาจอยู่เหนือ หรือตัดขาดจากความสัมพันธ์ทางอำนาจ เช่นกันกับมิอาจให้ความรู้ความเข้าใจได้ด้วยการเป็นกลางไม่โอนเอียง ทฤษฎีการเมืองหรือสัจจะหรือความรู้ใดๆเป็นส่วนหนึ่งโดยนัยของความสัมพันธ์ทางอำนาจที่นักวิชาการกำลังวิเคราะห์อยู่ นักคิดหลังสมัยใหม่จึงมีลักษณะตั้งข้อกังขาอย่างไม่ลดละต่อสภาพความเป็นจริงใดๆที่ดูหนักแน่นสมบูรณ์ และความเชื่อต่างๆที่พากันยึดถืออย่างไม่ลืมหูลืมตา
        สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้กล่าวกันว่าได้ก้าวเข้าสู่ยุคหลังสมัยใหม่ (postmodern era) คือความคิดที่ว่าสิ่งที่เป็นจริง (the real) กับสิ่งที่ปรากฏ (apparent) นั้นอาจไม่ใช่เรื่องเดียวกัน ซึ่งเป็นความคิดของฟรีดริช นิทซ์เชอ ซึ่งความคิดดังกล่าวเข้าไปมีอิทธิพลในวงการศิลปะในช่วงทศวรรษที่ 1920กล่าวได้ว่าแนวคิดหลังสมัยใหม่ (postmodern)คือการเคลื่อนไหวทางความคิดและวัฒนธรรมที่ต่อต้านนิยาม,ความเชื่อ,ค่านิยม,จารีต,ประเพณีฯลฯอาทิองค์รวม(totality),ความเป็นเหตุเป็นผล ความเป็นสากลความเป็นวัตถุวิสัย ฯลฯ ซึ่งนักคิดหลังสมัยใหม่จะตั้งคำถามต่อสิ่งเหล่านี้ในฐานะที่ต่างเป็นเพียงเรื่องเล่าหลัก (meta-narrative)”ที่เกิดขึ้นมาจากข้ออ้างของความเป็นสมัยใหม่ (modernity)ของแนวคิดสมัยใหม่ (modernism)

แหล่งอ้างอิง
 
 

 

   

เหตุการณ์ย้อนรอย สึนามิ ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่น่ากลัว



เหตุการณ์สึนามิ ประเทศญี่ปุ่น




      ย้อนรอย สึนามิ ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่น่ากลัว

        จากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่ถาโถมเข้าใส่นานาประเทศตั้งแต่ต้นปี 2554ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 22กุภาพันธ์ 2554 ณ ประเทศนิวซีแลนด์ ที่คร่าชีวิตของประชากรถึง 200ราย หรือแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศจีน เมื่อวันที่ 10มีนาคม 2554ที่เขย่าพื้นที่มณฑลยูนนาน จนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 19ศพ และบาดเจ็บอีก 174คน รวมถึงเหตุการณ์สึนามิที่่ประเทศญี่ปุ่น โดยมีความรุนแรงถึง 8.9ริกเตอร์ และเกิดคลื่นสึนามิความสูง 10เมตร เข้ากระหน่ำพื้นที่ตามแนวชายฝั่งทางเหนือของประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดความสูญเสียและเป็นหายนะครั้งใหญ่ของญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ และล่าสุด (11เมษายน)เกิดแผ่นดินไหว 8.6ริกเตอร์ โดยศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ใต้ทะเลลึกราว 33กิโลเมตร ห่างจากชายฝั่ง เมืองบันดาร์อาเจะห์ ของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ราว 434 กิโลเมตร 

   ก่อนที่จะเกิดคลื่นสึนามินั้น มักจะมีการส่งสัญญาณเตือนจากธรรมชาติมาสู่มนุษย์ ด้วยดยการเกิดแผ่นดินไหว หรือจากการเคลื่อนตัวของแผ่นดินใต้ทะเล ที่เกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกะทันหัน จนทำให้น้ำทะเลเกิดการเคลื่อนตัวตาม เพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุลและจะก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ ซึ่งการเปลี่ยนรูปร่างของพื้นทะเล มักเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากการขยับตัวของเปลือกโลก ซึ่งจะเกิดบริเวณที่ขอบของเปลือกโลกหลายแผ่นเชื่อมต่อกันที่เรียกว่า รอยเลื่อน (fault) เช่น บริเวณขอบของมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากแผ่นดินไหวแล้ว ดินถล่มใต้น้ำที่มักเกิดร่วมกับแผ่นดินไหวสามารถทำให้เกิดคลื่นสึนามิได้เช่นกัน นอกจากการกระทบกระเทือนที่เกิดใต้น้ำแล้ว การที่พื้นดินขนาดใหญ่ถล่มลงทะเล หรือการตกกระทบพื้นน้ำของเทหวัตถุ ก็สามารถทำให้เกิดคลื่นได้ คลื่นสึนามิที่เกิดในรูปแบบนี้จะลดขนาดลงอย่างรวดเร็วและไม่มีผลกระทบต่อชายฝั่งที่อยู่ห่างไกลมากนัก 
          และแม้แต่ประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงน้อยมากที่จะเกิดสึนามินั้น ก็ยังได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์โลกนี้ โดยเมื่อ 26ธันวาคม 2547 ได้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ขึ้นในประเทศไทย เมื่อเกิดคลื่นสึนามิครั้งที่รุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ถาโถมเข้าใส่ในพื้นที่ 6จังหวัดภาคใต้ที่มีพื้นที่อยู่ติดกับชายฝั่งทะเลอันดามัน คือ ภูเก็ต พังงา ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล โดยเฉพาะที่จังหวัดพังงา กระบี่ และภูเก็ต มีการสูญเสียมากที่สุด เป็นพิบัติภัยทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว โดยไม่มีผู้ใดคาดคิดมาก่อน จึงไม่ได้มีการระมัดระวังและป้องกันไว้ล่วงหน้า ทำให้มีประชาชนถูกคร่าชีวิตไปกว่า 220,000 คน 
        
                                       ภาพสึนามิในญี่ปุ่น


 "สึนามิ ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่น่ากลัว"   
สึนามิเป็นภัยธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยที่เราไม่อาจรู้




ป็นปรากฏการณ์คลื่นยักษ์ หลังเกิดแผ่นดินไหวจุดศูนย์กลางอยู่ในทะเล ใกล้กับเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย วัดความรุนแรงได้ถึง 9.3 ริกเตอร์ ซึ่งได้สร้างคลื่นยักษ์สึนามิ อนุภาพทำลายสูง เป็นวงกว้างกระทบในหลายประเทศ 
ไกลไปถึงชายฝั่งทวีปแอฟริกา










แหล่งอ้างอิง