วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

"ความสัมพันธ์ไทย-โปรตุเกส"โดยนางสาวรพีพรรณ เกาะจู


ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและโปรตุเกส




              ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศโปรตุเกส เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1511 เมื่อ อาโฟโซ ดาลบูเคอร์ค (Alfoso d’Alboquerque) อุปราชโปรตุเกสประจำภาคตะวันออก ได้ส่งทูตคนแรก คือ ดูอาร์เต เฟอร์นันเดส (Duarte Fernandez) เข้ามายังกรุงศรีอยุธยาเพื่อขอเจริญไมตรีกับพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ 2 (ค.ศ. 1491-1529) ซึ่งขณะนั้นกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองที่มั่งคั่ง และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งพืชพันธุ์ธัญญาหารและของป่าหายาก ประกอบกับกรุงศรีอยุธยามีสภาพเป็นเกาะมีแม่น้ำซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมหลักล้อมรอบทั้ง ด้าน สะดวกต่อการติดต่อค้าขายและขนส่งสินค้า กรุงศรีอยุธยาจึงเป็นศูนย์กลางการค้าใหญ่ที่สำคัญในเอเชีย หลังจากที่โปรตุเกสได้ขยายอำนาจมาถึงเมืองมะละกา ซึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของอยุธยามาก่อน โปรตุเกสเกรงจะเกิดปัญหาบาดหมางกับไทยในภายหลัง อีกทั้งต้องการติดต่อค้าขายกับไทยด้วย จึงได้ส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรี นับเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เดินทางเข้ามายัง กรุงศรีอยุธยา ก่อนหน้าชาวยุโรปชาติอื่น ๆ เป็นเวลากว่า 100 ปี

             การเจริญสันถวไมตรีทางพระราชสาสน์อย่างเป็นทางการในอีกห้าปีต่อมา ในปีค.ศ. 1516 เมื่อดาลบูเคอร์คได้จัดส่งทูตที่มีอำนาจเต็มมาจากพระเจ้ามานูแอล ที่ 1 (Rei D. Manuel I) แห่งโปรตุเกส คือ ดูอาร์เต โกเอโย่ (Duarte Coelho) เพื่อมาทำสัญญาพันธไมตรีกับอยุธยาอย่างเป็นทางการ ซึ่งทางอยุธยาเองก็ให้การตอบรับอย่างดี โดยมีนัยสำคัญแห่งสนธิสัญญาเป็นไปเพื่อการค้าและการเผยแพร่ศาสนา กล่าวคือ ทางการค้า อยุธยาจะให้ความสะดวกและสิทธิพิเศษต่างๆ ต่อพ่อค้าชาวโปรตุเกสที่มาค้าขายอยู่ในกรุงศรีอยุธยาและเมืองท่าต่าง ๆ และยอมให้ชาวเมืองที่อยู่ในกรุงศรีอยุธยาไปทำมาค้าขายที่เมืองมะละกาได้ ส่วนโปรตุเกสก็จะช่วยหาสินค้าที่ไทยต้องการ เช่น อาวุธปืนและกระสุนดินดำให้อยุธยา และให้ปฏิบัติกิจทางศาสนาได้อย่างเสรี

             สนธิสัญญาฉบับนี้เป็นฉบับแรกที่ไทยทำกับประเทศตะวันตก เมื่อโกเอโย่จะเดินทางกลับ ทางอยุธยาก็จัดส่งทูตตามไปเพื่อถวายพระราชสาสน์ต่อพระเจ้ามานูแอล ที่ อีกด้วย

             จากความสัมพันธ์ทางด้านการค้าขายได้พัฒนาขึ้น เมื่อสินค้าที่สำคัญอย่างหนึ่งเป็นที่ต้องการของอยุธยาในสมัยนั้น คือ อาวุธปืนและกระสุนดินปืน เนื่องจากอยุธยากำลังทำสงครามกับพม่าที่เมืองเชียงกราน ในปี ค.ศ. 1538 ได้มาทหารอาสาชาวโปรตุเกสจำนวน 120 คน เข้ามารับราชการสงครามในกองทัพไทย และได้ให้คำแนะนำทางการทหารต่างๆ รวมถึงการใช้ปืนแบบยุโรป ทำให้กรุงศรีอยุธยามีชัยชนะในศึกครั้งนั้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ทหารอาสาชาวต่างชาติในกองทัพอยุธยาที่เรียกว่า “กองทหารแม่นปืน ในเวลาต่อมา และจากความดีความชอบในสงครามเมืองเชียงกราน สมเด็จพระชัยราชาธิราช ค.ศ.1534 - 1546 จึงทรงตอบแทนโดยอนุญาตให้ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งภูมิลำเนาในราชอาณาจักรอยุธยา พร้อมทั้งพระราชทานที่ดินริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยานอกกำแพงเมืองใช้ชาวโปรตุเกสได้สร้างโบสถ์ในคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก ขึ้นเป็นครั้งแรกในราชอาณาจักรสยาม (ปัจจุบันหมู่บ้านโปรตุเกสตั้งอยู่ในเขตตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) นอกจากที่กรุงศรีอยุธยาแล้ว ได้มีชาวโปรตุเกสเข้าไปพำนักอยู่ที่หัวเมืองต่างๆ ของไทย ที่ปัตตานี นครศรีธรรมราช ทวาย และตะนาวศรี อีกด้วย
         

ความสัมพันธ์ทางด้านการค้าระหว่างไทยและโปรตุเกสในราชอาณาจักรอยุธยา เจริญรุ่งเรืองเป็นเวลากว่าศตวรรษโดยไม่มีชาติตะวันตกใดมาแข่งขัน เนื่องจากสเปนได้เดินเรือไปทางตะวันตก ส่วนอังกฤษ ฮอลันดา และฝรั่งเศสยังไม่เจริญรุ่งเรืองพอที่จะเดินเรือมาค้าขายไกลๆ ถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ นอกจากพวกพ่อค้าแล้ว ยังมีนักผจญภัยที่ได้เข้ามารับราชการในกองทัพไทย ซึ่งทหารชาวโปรตุเกสเหล่านี้เป็นผู้นำวิชาการทางการทหารแบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ให้แก่คนไทย เช่น วิชาการใช้และทำปืนไฟ การสร้างป้อมต่อต้านปืนไฟ การตัดถนนโดยการใช้เข็มทิศส่องกล้อง เป็นต้น รวมถึงมีทหารอาสาเข้ารับราชการสงครามในกองทัพอยุธยาหลายครั้งจนสิ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา และที่น่าสนใจเกี่ยวกับรายนาม ขุนนางกรมฝรั่งแม่นปืนในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ต่อมาเมื่อบทบาททางทะเลของโปรตุเกสในดินแดนต่างๆ ลดน้อยลง เนื่องจากการขยายอำนาจของฮอลันดา สเปน อังกฤษ และฝรั่งเศส นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1597 ฮอลันดาเริ่มมีอำนาจมากขึ้น เมื่อโปรตุเกสถูกรวมเข้ากับสเปนเป็นเวลากว่า 60 ปี
           หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี ค.ศ.1767 แล้วบรรดาชาวยุโรปอื่น ๆ ได้อพยพออกนอกราชอาณาจักรไทย และมีบางส่วนที่เข้าร่วมกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชต่อสู้กับพม่า หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงปราบปรามชุมชนต่าง ๆ และรวบรวมผู้คนสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแล้ว คุณพ่อกอรร์ บาทหลวงฝรั่งเศสผู้นำคริสตชนในเวลานั้น ซึ่งเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก คุณพ่อได้ลี้ภัยไปอยู่ที่ประเทศเขมร เมื่อบ้านเมืองสงบเรียบร้อยจึงได้เดินทางกลับมาในประเทศไทยพร้อมกับคนไทยอีก คน และรวบรวมคริสตังที่บางกอกซึ่งมีจำนวนถึง 400 คน ให้มาอยู่รวมกัน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระเมตตาต่อคริสตชนโดยเฉพาะต่อชาวโปรตุเกส พระองค์ได้ทรงให้การต้อนรับอย่างดี และได้พระราชทานที่ดินที่กุฎีจีนสำหรับสร้างโบสถ์ในปี ค.ศ. 1769 คุณพ่อกอรร์ได้ตั้งชื่อเป็นภาษาโปรตุเกสว่า “วัดซางตาครู้ส” นับเป็นแผ่นดินผืนที่สองที่พระมหากษัตริย์ได้พระราชทานให้แก่คริสตังชาวโปรตุเกส หลังจากนั้นปรากฏว่าจำนวนคนกลับใจและรับศีลล้างบาปที่วัดซางตาครู้ส ส่วนใหญ่แล้วเป็นชาวจีน 
       15 ปีต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ เมษายน พุทธศักราช 2325 พระราชทานนามของพระนครหลวงว่า "กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมารอวตารสถิต สักกะทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธิ์” มีความหมายโดยรวมว่า "เมืองเเห่งเทวดา"
    ชาวสยามยุคนั้นไม่สนใจการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตกนัก เพราะไม่เห็นประโยชน์ที่จะได้รับ ชาวอังกฤษไม่พอใจที่สยามมีการหักภาษี จึงส่งนายจอห์น ครอว์เฟิร์ดทำให้มาขอทำสัญญาพยายามให้ไทยยกเลิกการผูกขาดของพระคลังสินค้า แต่ทางเราปฏิเสธกลับไป จนกระทั่งโปรตุเกสได้ส่งทูตชื่อ อันโตนิโอ เดอ วีเสนท์ (Antonio de Veesent) คนทั่วไป เรียกว่า องตนวีเสน” เป็นอัญเชิญพระราชสาสน์กษัตริย์โปรตุเกสจากกรุงลิสบอนมายังสยาม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้การต้อนรับและทรงให้อันโตนิโอเข้าเฝ้า ทางการสยามได้มีพระราชสาสน์ตอบมอบให้อันโตนีโอเป็นผู้อัญเชิญกลับไป
          ในสมัยล้นเกล้ารัชกาลที่ ความสัมพันธ์กับโปรตุเกสรุ่งเรืองอย่างมาก ได้มีการส่งเรือกำปั่นชื่อ มาลาพระนคร โดยมีหลวงสุรสาครเป็นนายเรืองคุมเรือออกไปค้าขายกับโปรตุเกสที่เมืองมาเก๊า และมีการเจริญสัมพันธไมตรี ซึ่งชาวสยามก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ทำให้การ์ลูส มานูเอล ดา ซิลเวย์รานำเครื่องราชบรรณาการและพระราชสาสน์ของกษัตริย์โปรตุเกสมาถวายล้นเกล้ารัชกาลที่ เพื่อขอเจริญสัมพันธไมตรี ไทยก็ให้การต้อนรับอย่างดี เพราะเห็นว่าโปรตุเกสช่วยอำนวยความสะดวกแก่เรือกำปั่นหลวงที่เดินทางไปค้าขายที่มาเก๊าในครั้งก่อน รวมทั้งไทยยังต้องการซื้อปืนคาบศิลาจากโปรตุเกสเอาไว้ใช้ป้องกันพระนครด้วยจึงยินดีที่จะเป็นมิตรกับโปรตุเกส ทางโปรตุเกสก็ได้จัดซื้อให้ถึง 400 กระบอก
        ปีพุทธศักราช 2363 ผู้สำเร็จราชการโปรตุเกส ณ เมืองกัว ในอินเดีย ได้ร่างสัญญาทางพระราชไมตรีในนามของกษัตริย์โปรตุเกส มอบให้การ์ลูส มานูเอล ดา ซิลเวย์ราเข้ามาถวาย โดยใจความขอให้ การ์ลูส มานูเอล ดาซิลเวียรา เป็นกงสุลโปรตุเกสประจำกรุงเทพมหานคร ซึ่งล้นเกล้ารัชกาลที่ โปรดเกล้าฯ พระราชทานตามที่ขอ พร้อมแต่งตั้งให้ซิลเวย์รามีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงอภัยพาณิชหลังจากที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 2ได้มีพระราชานุญาติให้ตั้งสถานกงสุลโปรตุเกสขึ้นในไทย มีการปักธงโปรตุเกสที่กงสุล ต่อมาภายหลังสถานกงสุลนี้ได้รับฐานะเป็นสถานทูต นับเป็นสถานทูตต่างชาติแห่งแรกในไทย
          ตลอดรัชกาลที่ ก็ยังคงเป็นความสัมพันธ์ทางการฑูตและการติดต่อค้าขาย ซึ่งก็มีปริมาณการค้าไม่มากนักเนื่องจากค้าขายขาดทุนที่ทำการค้าสู้อังกฤษไม่ได้ แต่ก็ยังมีความสัมพันธ์อันดีเรื่อยมา
          รัชกาลที่ ขึ้นครองราชย์ มีพระราชประสงค์จะทำสนธิสัญญากับโปรตุเกส เพื่อสถาปนาสัมพันธ์ไมตรีและการค้าที่ขาดตอนไป
         หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ ในปี ค.ศ. 1897 พระองค์เสด็จประพาสยุโรป และได้เสด็จฯ เยือนกรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส
      ต่อมาในปี ค.ศ. 1960 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินประพาส ณ กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส




สายใยแห่งความสัมพันธภาพอันดีระหว่างประเทศไทยกับโปรตุเกส ที่ผ่าทางประวัติศาสตร์อันยาวนานหลายศตวรรษ นอกจากหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ยังคงหลงเหลืออยู่อย่างมากมายแล้วยังมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เปรียบเสมือนหนึ่งตัวประสานให้สายใยนี้มั่นคงยืนนานสืบไป เช่น มีคำภาษาโปรตุเกสที่ใช้กันในภาษาไทยหลายคำ เช่น เลหลัง ขนมปัง คริสตัง เป็นต้น ซึ่งคำว่าคริสตังเป็นคำที่ใช้เรียกคริสตชนที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิกในเมืองไทยโดยเฉพาะ รวมไปถึงอาหารการกินของชาวโปรตุเกสหลายอย่างซึ่งได้ดัดแปลงให้มีรสชาติแบบไทย ๆ จนถึงปัจจุบันได้กลายเป็นขนมประจำชาติของไทยไป เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ทองหยอด เป็นต้น แต่ก็มีขนมที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมของขนมโปรตุเกสไว้ คือ ขนมฝรั่ง ซึ่งมีทำเฉพาะที่กุฎีจีน (วัดซางตาครู้ส) เท่านั้น ที่ยังคงสืบทอดกรรมวิธีแบบโบราณมาจนถึงทุกวันนี้ 



แหล่งอ้างอิง


         http://haab.catholic.or.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=1405:2013-04-27-03-59-31&catid=212:2013-06-26-07-20-57&Itemid=30

2 ความคิดเห็น:

  1. แก้คำว่า "โปรตุเกต" เป็น "โปรตุเกส" คำ "โปรตุเกต" เทียบได้กับคำว่า "Protuget" ซึ่งนักวิชาการรุ่นใหม่ชาวโปรตุเกสพยายามจะใช้เรียกคนเชื้อสายโปรตุเกสปัจจุบันในไทยตามสำเนียงไทย ซึ่งแท้ที่จริงแล้วคนเชื้อสายโปรตุเกสในไทย รู้จักและภาคภูมิใจกับคำว่า "โปรตุเกส" มากกว่า

    ตอบลบ
  2. ของคุณมากค่ะสำหรับคำแนะนำอาจารย์

    ตอบลบ