วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การคิดในแง่บวกมากกว่าแง่ลบทำให้ชีวิตสนุกสนานไปกับการใช้ชีวิต



เทคนิคการสร้างความคิดสร้างสรรค์
ในการทำงาน





   ความคิดสร้างสรรค์คืออะไร 


         ความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) เป็นกระบวนการทางสมองที่มีผลทำให้คิดได้กว้างไกลหลายแง่มุม หรือเรียกว่า ความคิดแบบอเนกนัย ทำให้เกิดความคิดแปลกใหม่แตกต่างไปจากเดิม เป็นความสามารถของสมองในการเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ รอบตัวเกิดการเรียนรู้และเข้าใจ จนเกิดเป็นปฏิกิริยาตอบสนองให้เกิดความคิดเชิงจินตนาการ นำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการหรือเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งในชีวิตประจำวัน การเรียน และการทำงาน โดยอาศัยประสบการณ์และความรู้ที่สั่งสมมา



ความคิดสร้างสรรค์ แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ 




        
     1. ความคิดสร้างสรรค์ระดับต้น เป็นความคิดที่มีอิสระ แปลกใหม่ ยังไม่คำนึงถึงคุณภาพและการนำไปประยุกต์ใช้
          2. ความคิดสร้างสรรค์ระดับกลาง เป็นความคิดที่เริ่มคำนึงถึงผลผลิตทางคุณภาพ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้
          3. ความคิดสร้างสรรค์ระดับสูง เป็นความคิดที่เกิดจากการสรุปสิ่งที่ค้นพบเป็นรูปธรรมนำไปใช้ในการสร้างหลักการ ทฤษฎีที่เป็นสากลเพื่อนำไปสู่การประกอบอาชีพที่หลากหลาย




ความคิดสร้างสรรค์มีประโยชน์อย่างไร




          ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถในการคิดที่แปลกใหม่ โดยอาศัยประสบการณ์ที่มีอยู่ในการดัดแปลงสิ่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้อง ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงมีประโยชน์ ดังนี้



1.ช่วยในการแก้ปัญหา



          โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และมีความสลับซับซ้อมมากยิ่งขึ้น การแก้ปัญหาด้วยวิธีการเดิม ๆ มักใช้ไม่ได้ผล ความคิดสร้างสรรค์จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทั้งในระดับโลก ระดับชาติ ระดับองค์กรระดับสถาบันการศึกษา จนถึงระดับปัจเจกบุคคลโลกปัจจุบันเป็นความคิดสร้างสรรค์ช่วยให้แก้ปัญหาเดิม ด้วยวิธีการใหม่ทำให้ได้สิ่งที่ดีกว่า เพราะในโลกความเป็นจริงไม่มีรูปแบบใดอยู่ในสภาพตายตัวตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นมิติของสถานที่หรือเวลา แต่มีความแตกต่างซ่อนอยู่เสมอ เพราะองค์ประกอบปลีกย่อยที่ผสมผสานแตกต่างกัน ดังนั้นการเรียนรู้แบบเป็น “สูตร”จึงไม่สามารถใช้ได้ผลทุกครั้ง ต้องเรียนรู้วิธีการยืดหยุ่น เพื่อสามารถปรับตัวเข้ากับบริบทที่แตกต่างกัน การเรียนรู้วิธีคิดสร้างสรรค์จะสามารถช่วยให้เราคิดได้อย่างเหมาะสม สำหรับเรื่องหนึ่ง ๆ ในเวลาหนึ่ง 



2.ก่อให้เกิดนวัตกรรมที่ไม่หยุดยั้ง



          เทคโนโลยีในปัจจุบันมีการแข่งขันกันในด้านความสร้างสรรค์ เพื่อผลิตสิ่งใหม่ๆ ออกสู่ตลาด สินค้ารูปแบบเดิม แม้ดูเหมือนตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ในปัจจุบัน แต่หากไม่มีการพัฒนาเท่ากับเป็นการเดินถอยหลังไปเรื่อย ๆ เพราะเมื่อมีสินค้าที่ดีกว่าใหม่กว่าน่าสนใจกว่า ย่อมดึงดูดใจผู้บริโภคได้มากกว่า สินค้ารูปแบบเดิม ๆ อาจหายไปจากตลาดได้ บุคคลที่สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวตกรรมได้นั้น มักเป็นบุคคลที่ “ไม่พึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมี”ซึ่งความไม่พึงพอใจนี่เองที่ทำให้คิดค้นและพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ได้





3. ช่วยเราได้สิ่งใหม่ที่ดีกว่าสิ่งเดิม ๆ



          ความคิดสร้างสรรค์จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตได้ จากการพยายามพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น พยายามมองปัญหาที่เกิดขึ้นในบริบทที่เป็นอยู่ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาอาชีพตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันแทบทุกอาชีพต้องพึ่งพาคนที่มีความคิดสร้างสรรค์เพราะทุกองค์กรต่างต้องพัฒนาตนเองเพื่อก้าวสู่อนาคต






อุปสรรคของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์





          การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์จำเป็นต้องมีองค์ประกอบแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริม แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคที่จะขัดขวางการพัฒนา

ความคิดสร้างสรรค์หลายประการ ดังนี้
          1. การมีมโนทัศน์ (Concept) เดิม คือ การที่บุคคลมีความคิด หรือการรับรู้ ว่าสิ่งของ บุคคล สภาพการณ์ที่พบเห็นอยู่นั้น มีมโนทัศน์เดิมเป็นอะไร มีหน้าที่อะไร และฝังใจแค่เพียงว่าสิ่งนั้นต้องเป็นแบบ เดิม ตามที่ตนเองรับรู้เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถคิดได้ว่าสิ่งนั้นควรจะสามารถทำหน้าที่ในลักษณะอื่นได้อีก
          2. การมีแนวคิดครอบงำ (Dominant Idea) เมื่อต้องการคิดทำสิ่งใหม่หรือคิดแก้ปัญหา โดยทั่วไปจะมีแนวคิดครอบงำในการแก้
ปัญหานั้นอยู่แล้ว ทำให้คนทั่วไปถูกแนวคิดครอบงำนี้ ชักจูงให้คิดแก้ปัญหาไปในทิศทางเดียวกันกับแนวคิดดังกล่าว เช่น การที่สมาชิกในกลุ่มที่มีความเด่น จะสามารถจูงใจให้กลุ่มมีแนวคิดเหมือนกับตัวเอง ทำให้ขาดแนวคิดในการมองปัญหาในแง่มุมอื่น
          3. การมีความเชื่อเดิม (Assumption) เป็นการกำหนดขอบเขตของการแก้ปัญหาว่า แนวคิดในการแก้ปัญหาต้องอยู่ในขอบเขตทำให้คิดอยู่ในกรอบ ไม่อาจสร้างแนวคิดอื่นๆ ได้





เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน

          การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ควรเริ่มต้นจากการมีทัศนคติเชิงบวก ดังนี้






1. เชื่อว่าปัญหาทุกเรื่องสามารถแก้ไขได้




          บุคคลที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้นั้น ควรเป็นบุคคลที่มีทัศนคติเชิงบวกต่อปัญหา หรือ อุปสรรคที่พบ สามารถรับรู้ได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นย่อมแก้ไขได้ไม่วิธีใดก็วิธีหนึ่ง เพียงแต่ต้องใช้เวลาและแรงกายแรงใจทุ่มเทลงไป และต้องจัดลำดับความสำคัญให้ถูกต้อง


2.กล้ายอมรับการตัดสินใจของทีม



          บุคคลที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้นั้น ต้องเป็นบุคคลที่สามารถยอมรับความคิดเห็นและการตัดสินใจของผู้อื่นรวมทั้งสามารถยอมรับการวิจารณ์จากเพื่อนร่วมทีมได้ แม้ว่าความคิดของตนเองจะเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ก็ตาม





3.ความสงสัยใคร่รู้


          บุคคลที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้นั้น ต้องเป็นบุคคลที่มีความสงสัย ความต้องการที่จะรู้เรื่องต่าง ๆ เช่น อยากรู้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร วิธีแก้ปัญหาต้องทำอย่างไร ความจริงคืออะไร ทำไมถึงต้องเป็นเช่นนั้น ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงไม่ลองวิธีนี้ แค่นี้ก็สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้แล้ว




4.ชอบความท้าทาย



          บุคคลที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้นั้น ต้องเป็นบุคคลที่ชอบความท้าทาย ชอบที่จะเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ เพราะคิดว่าอุปสรรคเหล่านี้เป็นสิ่งที่ท้าทาย ต้องพยายามหาทางเอาชนะให้ได้

          การที่บุคคลสามารถลดทัศนคติเชิงลบ และเพิ่มทัศนคติในเชิงบวกได้แล้ว จะทำให้กลายเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีคนหนึ่งเลย ทีเดียว แม้ว่าแนวความคิดที่นำเสนอหลายครั้งอาจแปลกประหลาด หรืออาจถูกถูกหัวเราะเยาะ แต่หลาย ๆ ความคิดประหลาดนั้นอาจนำไปสู่ คิดที่ได้รับการยอมรับและนำไปปฏิบัติได้จริง หลายครั้งที่ความคิดใหม่ ๆ สามารถนำมาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และนำไปสู่การประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้




ยกตัวอย่าง

การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์



          กิลฟอร์ด ได้กล่าวถึงบุคลิกภาพของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ว่าจะต้องมีความฉับไวที่รู้ปัญหาและมองเห็นปัญหา มีความว่องไวและสามารถจะเปลี่ยนความคิดใหม่ๆได้ง่าย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการแก้ปัญหาเป้นกิจกรรมที่สำคัญยิ่งของชีวิตที่ต้องทำให้สำเร็จลุล่วงจึงจะทำให้ชีวิตสามารถดำเนินไปได้อย่างมีความสุข ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยปกติคนเราทั่วไปมักเลือกวิธีการที่จะเลี่ยงปัญหามากกว่าการเผชิญปัญหาซึ่งถ้าคนเรารู้จักที่จะเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ก็จะมีชีวิตที่สนุกสนานร่าเริงและความสุขมากยิ่งขึ้น


สรุป...จากความคิดที่เป็นส่วนตัวจากการศึกษาเรื่อง
 "เทคนิคการสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน"
ดิฉันชอบแนวคิดของ "กิลฟอร์ด"ไม่ว่าเราจะเจอปัญหาใดๆถ้าคนเรารูจักคิด รู้จักแยกแยะและรู้จักจะเรียนรู้แนวทางแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์บวกกับมองโลกในแง่บวกมากกว่าแง่ลบแค่นี้มนุษย์เราก็จะมีชีวิตที่สนุกสนานและร่าเริงพบแต่ความสุข ในการใช้ชิวิตค่ะ






แหล่งอ้างอิง



http://www.baanjomyut.com/library/creative_thinking/index.html
https://sites.google.com/site/krunoinetwork/khwam-khid-srangsrrkh-kab-kar-reiyn-ru
http://www.creativitycenter.co.th/about.html