วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การคิดในแง่บวกมากกว่าแง่ลบทำให้ชีวิตสนุกสนานไปกับการใช้ชีวิต



เทคนิคการสร้างความคิดสร้างสรรค์
ในการทำงาน





   ความคิดสร้างสรรค์คืออะไร 


         ความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) เป็นกระบวนการทางสมองที่มีผลทำให้คิดได้กว้างไกลหลายแง่มุม หรือเรียกว่า ความคิดแบบอเนกนัย ทำให้เกิดความคิดแปลกใหม่แตกต่างไปจากเดิม เป็นความสามารถของสมองในการเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ รอบตัวเกิดการเรียนรู้และเข้าใจ จนเกิดเป็นปฏิกิริยาตอบสนองให้เกิดความคิดเชิงจินตนาการ นำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการหรือเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งในชีวิตประจำวัน การเรียน และการทำงาน โดยอาศัยประสบการณ์และความรู้ที่สั่งสมมา



ความคิดสร้างสรรค์ แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ 




        
     1. ความคิดสร้างสรรค์ระดับต้น เป็นความคิดที่มีอิสระ แปลกใหม่ ยังไม่คำนึงถึงคุณภาพและการนำไปประยุกต์ใช้
          2. ความคิดสร้างสรรค์ระดับกลาง เป็นความคิดที่เริ่มคำนึงถึงผลผลิตทางคุณภาพ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้
          3. ความคิดสร้างสรรค์ระดับสูง เป็นความคิดที่เกิดจากการสรุปสิ่งที่ค้นพบเป็นรูปธรรมนำไปใช้ในการสร้างหลักการ ทฤษฎีที่เป็นสากลเพื่อนำไปสู่การประกอบอาชีพที่หลากหลาย




ความคิดสร้างสรรค์มีประโยชน์อย่างไร




          ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถในการคิดที่แปลกใหม่ โดยอาศัยประสบการณ์ที่มีอยู่ในการดัดแปลงสิ่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้อง ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงมีประโยชน์ ดังนี้



1.ช่วยในการแก้ปัญหา



          โลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และมีความสลับซับซ้อมมากยิ่งขึ้น การแก้ปัญหาด้วยวิธีการเดิม ๆ มักใช้ไม่ได้ผล ความคิดสร้างสรรค์จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ ทั้งในระดับโลก ระดับชาติ ระดับองค์กรระดับสถาบันการศึกษา จนถึงระดับปัจเจกบุคคลโลกปัจจุบันเป็นความคิดสร้างสรรค์ช่วยให้แก้ปัญหาเดิม ด้วยวิธีการใหม่ทำให้ได้สิ่งที่ดีกว่า เพราะในโลกความเป็นจริงไม่มีรูปแบบใดอยู่ในสภาพตายตัวตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นมิติของสถานที่หรือเวลา แต่มีความแตกต่างซ่อนอยู่เสมอ เพราะองค์ประกอบปลีกย่อยที่ผสมผสานแตกต่างกัน ดังนั้นการเรียนรู้แบบเป็น “สูตร”จึงไม่สามารถใช้ได้ผลทุกครั้ง ต้องเรียนรู้วิธีการยืดหยุ่น เพื่อสามารถปรับตัวเข้ากับบริบทที่แตกต่างกัน การเรียนรู้วิธีคิดสร้างสรรค์จะสามารถช่วยให้เราคิดได้อย่างเหมาะสม สำหรับเรื่องหนึ่ง ๆ ในเวลาหนึ่ง 



2.ก่อให้เกิดนวัตกรรมที่ไม่หยุดยั้ง



          เทคโนโลยีในปัจจุบันมีการแข่งขันกันในด้านความสร้างสรรค์ เพื่อผลิตสิ่งใหม่ๆ ออกสู่ตลาด สินค้ารูปแบบเดิม แม้ดูเหมือนตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ในปัจจุบัน แต่หากไม่มีการพัฒนาเท่ากับเป็นการเดินถอยหลังไปเรื่อย ๆ เพราะเมื่อมีสินค้าที่ดีกว่าใหม่กว่าน่าสนใจกว่า ย่อมดึงดูดใจผู้บริโภคได้มากกว่า สินค้ารูปแบบเดิม ๆ อาจหายไปจากตลาดได้ บุคคลที่สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างนวตกรรมได้นั้น มักเป็นบุคคลที่ “ไม่พึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมี”ซึ่งความไม่พึงพอใจนี่เองที่ทำให้คิดค้นและพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ได้





3. ช่วยเราได้สิ่งใหม่ที่ดีกว่าสิ่งเดิม ๆ



          ความคิดสร้างสรรค์จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตได้ จากการพยายามพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น พยายามมองปัญหาที่เกิดขึ้นในบริบทที่เป็นอยู่ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาอาชีพตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันแทบทุกอาชีพต้องพึ่งพาคนที่มีความคิดสร้างสรรค์เพราะทุกองค์กรต่างต้องพัฒนาตนเองเพื่อก้าวสู่อนาคต






อุปสรรคของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์





          การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์จำเป็นต้องมีองค์ประกอบแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริม แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีอุปสรรคที่จะขัดขวางการพัฒนา

ความคิดสร้างสรรค์หลายประการ ดังนี้
          1. การมีมโนทัศน์ (Concept) เดิม คือ การที่บุคคลมีความคิด หรือการรับรู้ ว่าสิ่งของ บุคคล สภาพการณ์ที่พบเห็นอยู่นั้น มีมโนทัศน์เดิมเป็นอะไร มีหน้าที่อะไร และฝังใจแค่เพียงว่าสิ่งนั้นต้องเป็นแบบ เดิม ตามที่ตนเองรับรู้เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถคิดได้ว่าสิ่งนั้นควรจะสามารถทำหน้าที่ในลักษณะอื่นได้อีก
          2. การมีแนวคิดครอบงำ (Dominant Idea) เมื่อต้องการคิดทำสิ่งใหม่หรือคิดแก้ปัญหา โดยทั่วไปจะมีแนวคิดครอบงำในการแก้
ปัญหานั้นอยู่แล้ว ทำให้คนทั่วไปถูกแนวคิดครอบงำนี้ ชักจูงให้คิดแก้ปัญหาไปในทิศทางเดียวกันกับแนวคิดดังกล่าว เช่น การที่สมาชิกในกลุ่มที่มีความเด่น จะสามารถจูงใจให้กลุ่มมีแนวคิดเหมือนกับตัวเอง ทำให้ขาดแนวคิดในการมองปัญหาในแง่มุมอื่น
          3. การมีความเชื่อเดิม (Assumption) เป็นการกำหนดขอบเขตของการแก้ปัญหาว่า แนวคิดในการแก้ปัญหาต้องอยู่ในขอบเขตทำให้คิดอยู่ในกรอบ ไม่อาจสร้างแนวคิดอื่นๆ ได้





เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน

          การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ควรเริ่มต้นจากการมีทัศนคติเชิงบวก ดังนี้






1. เชื่อว่าปัญหาทุกเรื่องสามารถแก้ไขได้




          บุคคลที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้นั้น ควรเป็นบุคคลที่มีทัศนคติเชิงบวกต่อปัญหา หรือ อุปสรรคที่พบ สามารถรับรู้ได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นย่อมแก้ไขได้ไม่วิธีใดก็วิธีหนึ่ง เพียงแต่ต้องใช้เวลาและแรงกายแรงใจทุ่มเทลงไป และต้องจัดลำดับความสำคัญให้ถูกต้อง


2.กล้ายอมรับการตัดสินใจของทีม



          บุคคลที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้นั้น ต้องเป็นบุคคลที่สามารถยอมรับความคิดเห็นและการตัดสินใจของผู้อื่นรวมทั้งสามารถยอมรับการวิจารณ์จากเพื่อนร่วมทีมได้ แม้ว่าความคิดของตนเองจะเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ก็ตาม





3.ความสงสัยใคร่รู้


          บุคคลที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้นั้น ต้องเป็นบุคคลที่มีความสงสัย ความต้องการที่จะรู้เรื่องต่าง ๆ เช่น อยากรู้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร วิธีแก้ปัญหาต้องทำอย่างไร ความจริงคืออะไร ทำไมถึงต้องเป็นเช่นนั้น ต่อไปจะเกิดอะไรขึ้น ทำไมถึงไม่ลองวิธีนี้ แค่นี้ก็สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้แล้ว




4.ชอบความท้าทาย



          บุคคลที่จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้นั้น ต้องเป็นบุคคลที่ชอบความท้าทาย ชอบที่จะเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ เพราะคิดว่าอุปสรรคเหล่านี้เป็นสิ่งที่ท้าทาย ต้องพยายามหาทางเอาชนะให้ได้

          การที่บุคคลสามารถลดทัศนคติเชิงลบ และเพิ่มทัศนคติในเชิงบวกได้แล้ว จะทำให้กลายเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีคนหนึ่งเลย ทีเดียว แม้ว่าแนวความคิดที่นำเสนอหลายครั้งอาจแปลกประหลาด หรืออาจถูกถูกหัวเราะเยาะ แต่หลาย ๆ ความคิดประหลาดนั้นอาจนำไปสู่ คิดที่ได้รับการยอมรับและนำไปปฏิบัติได้จริง หลายครั้งที่ความคิดใหม่ ๆ สามารถนำมาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และนำไปสู่การประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้




ยกตัวอย่าง

การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์



          กิลฟอร์ด ได้กล่าวถึงบุคลิกภาพของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ว่าจะต้องมีความฉับไวที่รู้ปัญหาและมองเห็นปัญหา มีความว่องไวและสามารถจะเปลี่ยนความคิดใหม่ๆได้ง่าย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการแก้ปัญหาเป้นกิจกรรมที่สำคัญยิ่งของชีวิตที่ต้องทำให้สำเร็จลุล่วงจึงจะทำให้ชีวิตสามารถดำเนินไปได้อย่างมีความสุข ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยปกติคนเราทั่วไปมักเลือกวิธีการที่จะเลี่ยงปัญหามากกว่าการเผชิญปัญหาซึ่งถ้าคนเรารู้จักที่จะเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ก็จะมีชีวิตที่สนุกสนานร่าเริงและความสุขมากยิ่งขึ้น


สรุป...จากความคิดที่เป็นส่วนตัวจากการศึกษาเรื่อง
 "เทคนิคการสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน"
ดิฉันชอบแนวคิดของ "กิลฟอร์ด"ไม่ว่าเราจะเจอปัญหาใดๆถ้าคนเรารูจักคิด รู้จักแยกแยะและรู้จักจะเรียนรู้แนวทางแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์บวกกับมองโลกในแง่บวกมากกว่าแง่ลบแค่นี้มนุษย์เราก็จะมีชีวิตที่สนุกสนานและร่าเริงพบแต่ความสุข ในการใช้ชิวิตค่ะ






แหล่งอ้างอิง



http://www.baanjomyut.com/library/creative_thinking/index.html
https://sites.google.com/site/krunoinetwork/khwam-khid-srangsrrkh-kab-kar-reiyn-ru
http://www.creativitycenter.co.th/about.html

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

เคล็ดลับความรู้การเขียนรายงานที่ดี



เคล็ดลับความรู้ การเขียนรายงาน




การเขียนรายงาน  คือ  การเขียนรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของบุคคลในหน่วยงาน  ซึ่งรายงานแต่ละประเภทนั้น  ก็จะมีวิธีการเขียนที่แตกต่างกันออกไป  รายงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการบริหารงาน  และการที่จะเสนอการเขียนรายงานนั้นให้ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถผลิตออกมาได้อย่างรวดเร็วนั้น  ควรที่จะมีการวางแผนกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของแต่ละรายงานไว้ด้วย


1.  ความหมายและความสำคัญของรายงาน
    รายงาน  คือ  การเสนอรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของบุคคลของหน่วยงาน  เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการบริหารงานทั้งในหน่วยงานราชการและธุรกิจเอกชน  เพราะรายงานจะบรรจุข้อมูลพื้นฐานที่ช่วยให้บุคลากรของหน่วยงานทราบนโยบาย  เป้าหมาย  ผลการปฏิบัติงาน  ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในการดำเนินงาน  ซึ่งการทำรายงานมีจุดมุ่งหมายคือ
    1.1  เพื่อฝึกฝนให้นักศึกษามีนิสัยรักการเขียน
    1.2  เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ ความคิดริเริ่ม รู้จักแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล
    1.3  เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
    1.4  เพื่อฝึกให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์เรื่องราวต่าง ๆ อย่างถูกต้อง
    1.5  เพื่อส่งเสริมและฝึกทักษะทางภาษา
    1.6  เพื่อปูพื้นฐานการศึกษาค้นคว้าและการเขียนรายงานสำหรับการศึกษาในขั้นสูงขึ้น

2.  ประเภทของรายงาน

    2.1  รายงานธรรมดา  หรือรายงานทั่วไป  เป็นรายงานข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นของบุคคลเกี่ยวกับเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวของบุคคลสำคัญ หรือสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
    2.2  รายงานทางวิชาการ  เป็นรายงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าวิจัย  และมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์
            2.2.1  ภาคนิพนธ์หรือรายงานประจำภาค  เป็นรายงานที่เรียบเรียงและรวบรวมจากการศึกษาค้นคว้าเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ
            2.2.2  วิทยานิพนธ์  เป็นรายงานที่เรียบเรียงจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยข้อเท็จจริงอย่างละเอียดลึกซึ้งรอบคอบตามลำดับขั้นตอนของการวิจัย

    ส่วนประกอบของการเขียนรายงาน
    -  หน้าปก  อาจเป็นกระดาษแข็งสีต่าง ๆ
    -  หน้าชื่อเรื่อง  ควรเขียนด้วยตัวบรรจงชัดเจนถูกต้อง เว้นระยะริมกระดาษด้านซ้ายและขวามือให้เท่ากัน
    -  คำนำ  ให้เขียนถึงมูลเหตุจูงใจที่เขียนเรื่องนั้นขึ้น  แล้วจึงบอกความมุ่งหมายและขอบเขตของเนื้อเรื่องในย่อหน้าที่สอง ส่วนย่อหน้าสุดท้ายให้กล่าวคำขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในการจัดทำการค้นคว้านั้นจนเป็นผลสำเร็จ
    -  สารบัญ  หมายถึง  บัญชีบอกบท
    -  สารบัญตาราง  ให้เปลี่ยนคำว่า "บทที่"  มาเป็น "ตารางที่"
    -  สารบัญภาพประกอบ  เพื่อเสริมคำอธิบายเนื้อเรื่องให้เข้าใจง่ายและสมบูรณ์มากขึ้น
    -  ส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง  ต้องลำดับความสำคัญของโครงเรื่องที่วางไว้ ถ้าเป็นรายงานขนาดยาวควรแบ่งเป็นบท
    -  อัญประกาศ  เป็นส่วนประกอบเนื้อเรื่องให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ  โดยนำข้อความที่ตัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของคนอื่นมาเขียนไว้ในรายงานของตน
    -  เชิงอรรถ  คือ  ข้อความที่ลงไว้ตรงท้ายสุดของหน้า เพื่อบอกที่มาของข้อความที่ยกมาหรืออธิบายคำ
    -  ตารางภาพประกอบ  ให้แสดงไว้ในส่วนของเนื้อเรื่องด้วย
    -  บรรณานุกรม  คือ  รายชื่อหนังสือ  สิ่งพิมพ์และวัสดุอ้างอิงทุกประเภทที่ผู้ทำรายงานใช้ประกอบการเรียนและการค้นคว้า
    -  ภาคผนวก  คือ  ข้อความที่นำมาเพิ่มเติมในตอนท้ายของรายงาน  เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้อ่านเข้าใจยิ่งขึ้น
    -  ดรรชนี  คือ  หัวข้อย่อย  หรือบัญชีคำที่นำมาจากเนื้อเรื่องในหนังสือ  โดยจัดเรียงลำดับตั้งแต่ตัว ก-ฮ และบอกเลขหน้าที่คำนั้นปรากฎอยู่ในเรื่อง ดรรชนีจะช่วยผู้อ่านในกรณีที่ต้องการค้นหาคำหรือหัวข้อย่อย ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

3.  การเขียนรายงาน

    1.  ควรเขียนให้สั้นเอาแต่ข้อความที่จำเป็น
    2.  ใจความสำคัญควรครบถ้วนเสมอว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร
    3.  ควรเขียนแยกเรื่องราวออกเป็นประเด็น ๆ
    4.  เนื้อความที่เขียนต้องลำดับไม่สับสน
    5.  ข้อมูล  ตัวเลข  หรือสถิติต่าง ๆ ควรได้มากจากการพบเห็นจริง
    6.  ถ้าต้องการจะแสดงความคิดเห็นประกอบ ควรแยกความคิดออกจากตัวข่าวหรือเรื่องราวที่เสนอไปนั้น
    7.  การเขียนบันทึกรายงาน  ถ้าเป็นของทางราชการ  ควรเป็นรูปแบบที่ใช้แน่นอน
    8.  เมื่อบันทึกเสร็จแล้ว  ต้องทบทวนและตั้งคำถามในใจว่า ควรจะเพิ่มเติมหรือตัดทอนส่วนใดทิ้ง  หรือตอนใดเขียนแล้วยังไม่ชัดเจน ก็ควรจะแก้ไขเสียให้เรียบร้อย

4.  การเขียนรายงานจากการค้นคว้า

    4.1  รายงานค้นคว้าเชิงรวบรวม  เป็นการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาเรียบเรียงปะติดปะต่อกันอย่างมีระบบระเบียบ
    4.2  รายงานค้นคว้าเชิงวิเคราะห์  การนำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มาวิเคราะห์ หรือค้นหาคำตอบในประเด็นให้ชัดเจน
5.  วิธีการนำเสนอรายงาน

    -  รายงานด้วยปากเปล่า (Oral Reports)  หรือเสนอด้วยวาจา  โดยการเสนอแบบบรรยายต่อที่ประชุมต่อผู้บังคับบัญชา ฯลฯ  ในกรณีพิเศษเช่นนี้ ควรจัดเตรียมหัวข้อที่สำคัญ ๆ ไว้ให้พร้อม  โดยการคัดประเด็นเรื่องที่สำคัญ  จัดลำดับเรื่องที่จะนำเสนอก่อนหน้าหลังไว้
    -  รายงานเป็นลายลักษณ์อักษร (Written Reports)  มักทำเป็นรูปเล่ม  เป็นรูปแบบการนำเสนออย่างเป็นทางการ (Formal Presentation)

6.  ลักษณะของรายงานที่ดี

    1.  ปกสวยเรียบ
    2.  กระดาษที่ใช้มีคุณภาพดี มีขนาดถูกต้อง
    3.  มีหมายเลขแสดงหน้า
    4.  มีสารบัญหรือมีหัวข้อเรื่อง
    5.  มีบทสรุปย่อ
    6.  การเว้นระยะในรายงานมีความเหมาะสม
    7.  ไม่พิมพ์ข้อความให้แน่นจนดูลานตาไปหมด
    8.  ไม่การการแก้ ขูดลบ
    9.  พิมพ์อย่างสะอาดและดูเรียบร้อย
    10. มีผังหรือภาพประกอบตามความเหมาะสม
    11. ควรมีการสรุปให้เหลือเพียงสั้น ๆ แล้วนำมาแนบประกอบรายงาน
    12. จัดรูปเล่มสวยงาม

7.  การเลือกใช้สื่อและอุปกรณ์ในการนำเสนอ

    มีโสตทัศนูปกรณ์ชนิดต่าง ๆ มากมายที่สามารถนำมาใช้ในการนำเสนอ  แต่ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใช้สื่อหรืออุปกรณ์ชนิดใดแล้ว  ควรวิเคราะห์เสียก่อนว่าสื่อหรืออุปกรณ์ใดจะเหมาะสมและสอดคล้องกับเรื่องที่จะนำเสนอนั้น ๆ โดยวิเคราะห์จาก
    -  ขนาดและลักษณะของผู้ฟัง
    -  เวลาที่ใช้ในการนำเสนอ
    -  เวลาสำหรับการผลิตสื่อ
    -  งบประมาณ

    โสตทัศนูปกรณ์และสื่อสำหรับใช้ในการนำเสนอ  ควรจะสอดคล้องและเหมาะสมกับเรื่องราวในโลกยุคปัจจุบัน  เราอาจจัดหามาได้หลาย ๆ อย่างเช่น
    -  เครื่องเสียงชนิดต่าง ๆ
    -  ชอล์ก/กระดานดำ
    -  ฟลิปชาร์ต/แผนภูมิ/ของจริง
    -  แผนผัง/แผนที่
    -  เครื่องฉายไมโครฟิล์ม
    -  เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ/ภาพถ่าย/แผ่นใส
    -  เครื่องฉายภาพยนตร์ทุกชนิด
    -  ทีวี/วีดีโอ/ภาพจากวีดีโอ
    -  เครื่องฉายสไลด์/ภาพสไลด์/มัลติวิชั่น
    -  ภาพจากจอคอมพิวเตอร์

    ประโยชน์ของการเตรียมโสตทัศนูปกรณ์และสื่อสำหรับใช้ในการนำเสนอ  จะเพิ่มอรรถรสในการบรรยายรายงานด้วยวาจาเพราะสามารถช่วยในเรื่อง  ดังนี้
    1.  ผู้รับรายงานสามารถเห็นและคิดได้โดยตรงในทันที
    2.  มีความกระจ่างชัดและสามารถเน้นจุดสำคัญเป็นพิเศษได้ตรงจุด
    3.  ช่วยในการสรุปประเด็น

ส่วนต่าง ๆ ของรายงาน  มี  3  ส่วน  ดังนี้

        1.  ส่วนหน้า  ประกอบด้วย  หน้าปก  ใบรองปกหน้า  (กระดาษเปล่า)  หน้าปกใน  หน้าคำนำ  หน้าสารบัญ
        2.  ส่วนกลาง  ประกอบด้วย  เนื้อเรื่อง  เชิงอรรถ
        3.  ส่วนท้าย  ประกอบด้วย  บรรณานุกรม  ภาคผนวก  ใบรองปกหลัง (กระดาษเปล่า)  ปกหลัง


การเขียนส่วนต่าง ๆ ของรายงานแต่ละส่วน

        1.  การเขียนปกรายงานและการเขียนหน้าปกใน 

             1.1  การเขียนปก  ให้เขียนชื่อเรื่อง  และผู้เขียนรายงาน  กลางหน้ากระดาษ  ไม่ต้องใส่คำว่า  ชื่อเรื่อง  และผู้เขียนรายงาน 
             1.2  การเขียนหน้าปกในให้เขียนโดยแบ่งเป็น  3  ส่วน  ดังนี้

                    ส่วนบน  ให้เว้นระยะ  2  นิ้ว  จากขอบกระดาษบนถึงบรรทัดแรกของรายงาน และเขียน ชื่อเรื่องของรายงาน  ใส่เฉพาะชื่อเรื่องที่เขียนรายงาน  ไม่ต้องใส่คำว่า  ชื่อเรื่อง  

                    ส่วนกลาง  เว้นจากส่วนบนลงมาประมาณ  2  บรรทัดใส่คำว่าโดย  และชื่อผู้เขียนรายงาน ไม่ต้องใส่คำว่า  ผู้เขียนรายงาน
                    ส่วนล่าง  ให้เว้นระยะ  1  นิ้ว  จากขอบกระดาษล่างถึงบรรทัดสุดท้ายของส่วนล่าง  บรรทัดแรกของส่วนล่างระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิชาใด ชั้นอะไร ภาคเรียนที่เท่าใด ปีการศึกษาใด  ใครเป็นครูผู้สอน


        2.  การเขียนคำนำ

             การเขียน “คำนำ” อยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านบน  2  นิ้ว ผู้เขียนรายงานจะระบุวัตถุประสงค์ ขอบเขตของเนื้อเรื่อง   หรือแนวการค้นคว้า   และคำขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือให้ การค้นคว้ารวบรวม และเรียบเรียงรายงานนั้นให้สำเร็จลงด้วยดี เมื่อหมดข้อความแล้วลงชื่อผู้เขียน วัน  เดือน ปี  ที่เขียน  ถ้าเป็นรายงานกลุ่มเขียนคำว่า คณะผู้จัดทำ หน้าคำนำมักนิยมใส่เลขหน้าในวงเล็บไว้ด้านล่าง


        3.  การเขียนสารบัญ

          การเขียน  “สารบัญ”  ผู้เขียนรายงานจะแบ่งเป็นบท  เป็นตอนระบุเนื้อเรื่องที่ปรากฏในรายงาน เรียง  ตามลำดับ การเว้นระยะในการเขียนจะอยู่ห่างจากขอบกระดาษด้านบน  2  นิ้ว  และข้อความในสารบัญ จะอยู่ห่างจากริมซ้ายของกระดาษเข้าไป  1.1  นิ้ว  เริ่มตั้งแต่ คำนำ  บท  และ ชื่อของบท จนถึงส่วนท้าย คือบรรณานุกรม และภาคผนวก เลขหน้าทางด้านขวามือจะอยู่ห่างจากขอบขวาของกระดาษ 1.1 นิ้ว ผู้เขียนรายงานต้องทำรายงานเรียบร้อยแล้วจึงจะระบุเลขหน้าได้ว่า บทใด  ตอนใด  อยู่หน้าใด



การนำบัตรข้อมูลที่บันทึกตามโครงเรื่องมาเขียนเนื้อหาของรายงาน

        การเขียนเนื้อเรื่อง  เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด   เพราะผลการค้นคว้ารวบรวมทั้งหมดที่บันทึก ลงในบัตรบันทึกข้อมูลจะนำมาเรียบเรียงไว้ในส่วนนี้ เรียงตามลำดับโครงเรื่องที่ปรากฏในสารบัญ ครอบคลุมตั้งแต่บทแรกถึงบทสุดท้าย ในหน้าแรกของเนื้อเรื่องไม่ต้องใส่เลขหน้าเว้นจากขอบบนของหน้ากระดาษลงมา 2 นิ้ว  ไว้กลางหน้ากระดาษ   ทุกครั้งที่ขึ้นบทใหม่ไม่ใส่เลขหน้าเฉพาะหน้านั้นแต่ให้นับหน้าด้วย การเว้นระยะจากขอบล่างขึ้นมา  ให้เว้น  1 นิ้ว  จากขอบซ้ายของหน้ากระดาษเข้ามาเว้น  1.5  นิ้ว  จากขอบของหน้ากระดาษเข้ามา  เว้น  1 นิ้ว  ส่วนการย่อหน้าทุกครั้งให้เว้น 6  ช่วงตัวอักษร  เขียนตัวที่  7


การทำบรรณานุกรมท้ายเล่ม

        การลงบรรณานุกรม  หากมีเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศให้ลงภาษาไทยก่อน  เรียงตามลำดับประเภท  และในแต่ละประเภทเรียงตามลำดับอักษรผู้แต่ง   หรือเรียงตามลำดับอักษรรวมกันไม่แยกประเภท

การเขียนบรรณานุกรม



ความหมายของบรรณานุกรม

        บรรณานุกรม  คือ  รายชื่อหนังสือเอกสาร  สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งโสตทัศนวัสดุ  และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ ที่นำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงในการเขียนรายงาน  โดยเรียงตามลำดับอักษรไว้ท้ายเรื่อง

จุดมุ่งหมายในการเขียนบรรณานุกรม
        1.  ทำให้รายงานนั้นเป็นรายงานที่มีเหตุผล  มีสาระน่าเชื่อถือ
        2.  เป็นการเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่นจึงนำมาอ้างไว้
        3.  เป็นแนวทางสำคัญสำหรับผู้สนใจต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม โดยศึกษาได้จากบรรณานุกรมนั้น ๆ 
        4.  สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างได้



วิธีเขียนบรรณานุกรม

        การเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือ  ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลจากหน้าปกใน และด้านหลังของหน้าปกใน ของหนังสือเล่มที่บันทึกข้อมูลมาเขียนบรรณานุกรม  การเขียนบรรณานุกรมจากวารสาร นำข้อมูลจากหน้าปก ของวารสารฉบับที่บันทึกข้อมูล มาเขียนบรรณานุกรม  และการเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือพิมพ์ นำข้อมูลจากหน้าแรกของหนังสือพิมพ์มาเขียนบรรณานุกรม  และการเขียนบรรณานุกรมจากสื่ออีเล็กทรอนิกส์ นำข้อมูลจากหน้าแรกของเว็บเพจมาเขียนบรรณานุกรม    ดังนี้
        1.  เขียนไว้ในส่วนท้ายของรายงาน
        2.  เขียนเรียงลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ในกรณีที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ให้เขียนบรรณานุกรมภาษาไทยก่อน
        3.  บรรทัดแรกของบรรณานุกรมชิดด้านซ้ายที่เว้นจากขอบกระดาษเข้ามา  1.5  นิ้ว  ถ้ายังไม่จบ เมื่อขึ้นบรรทัดใหม่โดยย่อหน้าเข้ามาประมาณ  7  ช่วงตัวอักษรของบรรทัดแรก  ให้เขียนตรงกับช่วงตัวอักษรที่  8 
        4.  รายละเอียดในโครงสร้างรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือ   มีดังนี้



1. โครงสร้างรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือ




    1.1  การอ้างถึงชื่อผู้แต่ง           1.1.1  ผู้แต่งคนเดียว



           1.1.2  ผู้แต่ง  2  คน ให้ใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2



           1.1.3  ผู้แต่ง  3  คน  ให้ใส่เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างคนที่  1  กับคนที่  2  และใส่คำว่า  “และ”  เชื่อมระหว่างคนที่  2  กับคนที่  3



           1.1.4  ผู้แต่งตั้งแต่  3  คนขึ้นไป  ลงเฉพาะชื่อแรก  และตามด้วยคำว่า  และคนอื่น ๆ



           1.1.5  หนังสือที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง  ให้ใช้ชื่อเรื่องเป็นรายการแรกแทนชื่อผู้แต่ง



           1.1.6  ผู้แต่งใช้นามแฝง  ให้ใช้นามแฝงได้เลย



           1.1.7  หนังสือแปล  ให้ใส่ชื่อ  นามสกุลของผู้แต่ง ก่อนผู้แปล



           1.1.8  ผู้แต่งมีบรรดาศักดิ์  ให้ใส่ชื่อ  นามสกุล  ตามด้วยบรรดาศักดิ์



    1.2  รูปแบบของบรรณานุกรมหนังสือ 


           รูปแบบของบรรณานุกรม  มี  2  แบบ 


           1.2.1  การอ้างอิงแยกจากเนื้อหาอยู่ท้ายของรายงาน   
                     1)  การอ้างอิงเนื้อหาบางบท  หรือบางตอน  ในหนังสือเล่มเดียวจบ    ให้ใส่ชื่อบท หรือตอน  ใช้คำว่า “ใน” ตามด้วยชื่อหนังสือ  และระบุหน้า  เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์






                     2)  การอ้างอิงเนื้อหาบางบท  หรือบางตอน  ของหนังสือบางเล่มที่มีหลายเล่มจบ ใช้คำว่า “ใน” ตามด้วยชื่อหนังสือ  ระบุเล่ม  และหน้าตามด้วยเลขหน้าที่อ้างอิง เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์



                     3)  การอ้างอิงตลอดทุกเล่มที่มีหลายเล่มจบ  ให้ระบุจำนวนเล่ม ตามด้วย เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์



                     4)  การอ้างอิงเพียงเล่มใดเล่มหนึ่ง  ให้ระบุเล่มที่อ้างอิงตามด้วย เมืองที่พิมพ์ ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์

           1.2.2  การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา                     1)  เมื่อต้องการจะแทรกในเนื้อหาสามารถแทรกวงเล็บพร้อมกับอ้างอิงได้ทันที  เมื่อจบข้อความ                          1.1)  รายการอ้างอิง  ประกอบด้วย  ชื่อ  นามสกุลผู้แต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค  หน้า/เลขหน้าที่อ้างถึง

                          1.2)  หากไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อหน่วยงานแต่ง ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค  หน้า/เลขหน้าที่อ้างถึง



                          1.3)  หากไม่ระบุปีที่พิมพ์  และเลขหน้า  ให้ใช้ตัวอักษรย่อ  “ม.ป.ป.”  ย่อมาจากคำว่า  ไม่ปรากฏเลขหน้า  และระบุคำว่า  ไม่มีเลขหน้าลงไปได้เลย

                     2)  ถ้าระบุชื่อผู้แต่งลงในเนื้อหาแล้วอ้างต่อทันทีในวงเล็บ  ไม่จำเป็นต้องระบุ ชื่อผู้แต่งซ้ำอีก



                     ยกเว้นผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติ

                     3)  การอ้างถึงเอกสารที่ไม่สามารถค้นหาต้นฉบับจริงได้  ให้อ้างจากเล่มที่พบ  ใช้คำว่า  “อ้างถึงใน”  หากเป็นบทวิจารณ์  ใช้คำว่า  “วิจารณ์ใน”



                     4)  การอ้างถึงเฉพาะบท  ใช้คำว่า  “บทที่”



                     5)  การอ้างถึงตาราง  ในเนื้อหา  ใช้คำว่า  “ดูตารางที่”  การอ้างถึงภาพในเนื้อหา  ใช้คำว่า  “ดูภาพที่”



2. โครงสร้างและรูปแบบบรรณานุกรมวารสาร



    2.1  การเขียนบรรณานุกรมจากบทความในวารสาร  มีปีที่  และฉบับที่

    2.2  บทความในวารสาร  ที่ไม่มีปีที่  ออกต่อเนื่องทั้งปี



3. โครงสร้างและรูปแบบบรรณานุกรมหนังสือพิมพ์



    3.1  การเขียนบรรณานุกรมบทความในหนังสือพิมพ์



    3.2   การเขียนบรรณานุกรมข่าวจากหนังสือพิมพ์  ให้เขียนหัวข่าว



    3.3  การเขียนบรรณานุกรมจากคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์



4. รูปแบบบรรณานุกรมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระบบออนไลน์  (Online) หรืออินเทอร์เน็ต
    4.1  เว็บเพจ มีผู้เขียน  หรือมีหน่วยงานรับผิดชอบ



    4.2  เว็บเพจไม่ปรากฏผู้เขียน  และปีที่จัดทำ ใส่  ม.ป.ป.  (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์)